FUJIFILM X-PRO II : Something Remind me to Films

ผมได้รับกล้อง FUJIFILM รุ่น X-PRO2   มาหนึ่งตัว กับแบตเตอร์รี่ 1 ก้อน ในช่วงสองสัปดาห์ที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

ครั้นที่จะนำไปทดสอบในช่วงเวลากลางวัน ก็เกรงว่าผิวอันบอบบางจะไหม้กร้าน เพราะเปลวแดด กับลมแล้งกลางเดือนเมษายน ไหนจะฝุ่นควัน จากไฟที่เขาพากันเผาป่า เผาซากพืชไร่ ซึ่งล่องลอยหนาแน่นคลุมทั่วท้องฟ้าของภาคเหนือ ก็ทำให้บรรยากาศไม่สู้จะแจ่มใสเท่าไร อารมณ์ถ่ายภาพนั้นแทบไม่มี
…แต่ก็แอบพกติดตัวไปไหนมาไหนช่วงเย็นย่ำ เผื่อจะมีโอกาสคว้าขึ้นมาถ่ายภาพบ้างตามที่ตั้งใจ

 

13029714_1049266258467810_7528215689496703471_o
มีช่องใส่ SD CARDS มาให้สองช่อง การประมวลผลต่อเนื่อง รวดเร็ว  และเดินกันเป็นวันยังถ่ายไม่เต็มความจุการ์ด แม้จะใช้ RAW + Fine Jpeg

แรกสัมผัส กล้อง Fuji X-PRO2 ทำให้ผมย้อนคิดถึงช่วงเวลาเมื่อสองสามปีก่อน ที่เคยครอบครองกล้อง X-PRO 1 พร้อมเลนส์ชุดใหญ่ ใช้งานอยู่เป็นปี เพราะมันเป็นอารมณ์ที่คุ้นชิน กับกล้องรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดพอดีมือ จับถือถนัด รูปโฉมออกแนววินเทจ จากช่องมองภาพแนวกล้องเร๊นจ์ไฟน์เดอร์ และปุ่มปรับต่างๆ ซึ่งเป็นแบบกลไก กระเดื่องกด โยกหมุน เห็นตัวเลข ได้อารมณ์ย้อนยุค เบาๆ ผสมกับปุ่มกดอิเล็คโทรนิคทั้งหลายที่วางไว้หลังกล้องอย่างลงตัว เรียกว่า หน้าเก่าหลังใหม่ ก็ดูเข้าที

Fuji+Fujifilm+X-Pro2+X-Pro1
ซ้าย X-PRO2 ขวาคุณปู่ X-PRO1 มองจากด้านหน้าแล้ว แทบแยกไม่ออกระหว่าง 1 กับ 2

กล้องจับถนัดมือดี นี่ผมไม่ได้มโนนะครับ ฝรั่ง ที่ไหนๆ มันก็ว่าจับถือดีกว่าเดิมเยอะ เวลาถ่ายภาพนี่ ผมก็ถูกสอนให้ถือกล้องสองมือมาตลอด นานๆ จะถ่ายมือเดียวสักที (ตอนไหนวะ จำไม่ได้)  ไว้ไม่มีมือซ้ายช่วยประคองกล้องเมื่อไร จะขอเอากลับมาลองถ่ายมือเดียวทั้งวันดูนะครับ

Screen Shot 2016-04-30 at 5.22.57 PM

13048117_1049266375134465_3446331806289853316_o

การปรับตั้ง ISO ซ่อนไว้ในเรือนกระจกที่วงแหวนชัตเตอร์สปีด เป็นแบบยกขึ้นแล้วหมุน ชูมือขึ้นส่ายไปมา เข้าท่านะครับแบบนี้ ได้อารมณ์กล้องฟิล์มยุค ที่ถ่ายสไลด์ดีมาก  ใครบอกว่าใช้ไม่ถนัด แล้วมัน “บ้า” ปรับ iso กันทุก Shot ที่ถ่ายภาพกันเลยไง? จะปรับอะไรนักหนา?
วงแหวนปรับชดเชยค่าวัดแสง อยู่ในตำแหน่งนิ้วหัวแม่โป้ง ขวา มันเป็นอะไรที่ผมใช้ประจำ ไม่ต้องกดปุ่มแล้วหมุนให้เสียเวลา อันนี้ล่ะโดนใจเฮีย

12976811_1049266255134477_7614098001136403072_o

และไอ้นี่เลย “จอยสติ๊กโยกๆ เปลี่ยนจุดโฟกัสภาพ” ที่เฝ้าถวิลหา มันใช้งานง่าย เร็ว ชอบใช้ ใครไม่ชอบ ผมชอบครับ

original

เมื่อก่อนใน X-PRO1 ไม่มีเลนส์แก้สายตาเวลามองวิวไฟด์เดอร์ครับ ลำบากมาก ผมใส่แว่นซะด้วย
พอมารุ่น X-PRO2 ท่าทางจะโดนด่าไปเยอะ จึงจัดมาให้ใช้ เรื่องนี้ต้องชมทีมพัฒนา ที่เอาใจใส่ความปราถนาของลูกค้านะครับ
13002517_1049266455134457_4794443683461469140_o

ป่ะ พร้อมแล้ว ไปตากแดดเล่นกัน นอกจากเลนส์ 23 f1.4 และ 35มม.f2 ที่ได้รับมาทดสอบพร้อมกล้องแล้ว ผมยังมีเลนส์ Voightlander  12mm. กับ 15mm. M-Mount พร้อมอแดปเตอร์ M-FX ของ FUJIFILM ให้ใช้งานร่วมกับกล้องแนวคุณปู่นี้ด้วย

12983874_1049266298467806_1899051756820134647_o

…………………………..
ผมไม่ค่อยชอบรีวิวกล้องแบบที่ลากเอาสเป็คกล้อง ประดามีในอินเตอร์เนทมาวางในบทความ ชนิด ก็อปปี้ เพลสท์ ข้อความมาแปล เพราะผมคิดว่า คนที่อ่านบทความผมนั้นคงอยากรู้ว่า ถ่ายรูปออกมาแล้ว คุณภาพไฟล์ สีสัน และการควบคุมจริงๆนั้น มันสนุก น่าใช้ หรือไม่

ก็ผมเป็นช่างภาพนี่ครับ ไม่ใช่วิศวกร ไม่ใช่เซลล์ขายกล้อง จะมาเอาสเป็คอะไรมากมายจากคนที่เริ่มใช้กล้องตัวนี้ได้เพียงไม่กี่วัน และเดี๋ยวก็ต้องส่งคืนเขาแล้ว

สเป็คเหล่านั้น รบกวนท่านเซิร์จเอาในกูเกิ้ล เดี๋ยวก็จะอ่านกันไม่หมดไม่สิ้น หรือดูจากลิงค์ของ Dpreview นี่ก็ละเอียดดีอยู่แล้ว
http://www.dpreview.com/reviews/fujifilm-x-pro2

ด้วยเวลาอันน้อยนิด กับสภาพอากาศเช่นขุมนรก เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา มันทำให้การรีวิวครั้งนี้ เน้นไปที่การเดินเที่ยวหลบร้อนตามวัดวาอารามที่เงียบเหงา แล้วคอยกดชัตเตอร์ถ่ายอะไรไปเรื่อย แบบยกซด รวดเร็ว เสียมากกว่า

ใครอยากรู้ละเอียดกว่านี้เรื่องสเป็ค ให้ไปซื้อมาทดลองเล่น แบบเปิดคู่มือเปิดตำรากันไปเลย รับรองเก่ง

Fujifilm-X-Pro1-vs-Fujifilm-X-Pro2-top-view-size-comparison
ความหนากล้องมากกว่าเดิมเล็กน้อย ยางรองตาและวิวไฟน์เดอร์มองง่ายขึ้น รองรับมือแสนอวบอิ่มของผมได้สบาย

 

“X-Trans CMOS III SENSOR” มันต้องมีอะไรดีอยู่บ้างล่ะน่า ไม่งั้นมันจะผลิตออกมาทำไม?

csm_Story1_Acros5_b913f9c505

Fujifilm X-Pro2 features

  • 24MP X-Trans CMOS III sensor (APS-C)
  • 273 autofocus points (169 of which are phase-detect)
  • 2.36M-dot OLED/Optical hybrid viewfinder with pop-up picture-in-picture tab
  • ISO 200-12800, expandable to 100-51200 with Raw shooting at all settings
  • 1/8000 sec maximum shutter speed and 1/250 sec flash sync
  • Acros black and white film simulation
  • Grain Effect option for JPEGs
  • 1080/60p movies

สมัยใช้  X-PRO1 ผมเริ่มหัดแต่งภาพ เพราะเซ็นเซอร์แบบ X-TRANS I นี่ล่ะ จากที่หลายๆคนบอกว่า RAW ของ X-TRANS I นั้นไม่เชื่อง เป็นวุ้นบ้าง ขุดไม่ได้บ้าง ก็เลยสงสัยและเริ่มใช้โปรแกรม LightRoom มานับตั้งแต่นั้น
ซึ่งก็ไม่เห็นว่า มันจะมีอะไรที่ควบคุมไม่ได้ Xtrans CMOS1 ก็ปรับแต่งได้ดี ขุดได้ สวยกว่าจากกล้อง APS-C อีกหลายตัวที่ร่วมสมัย ซะด้วยซ้ำ . . . ดูภาพจาก X-PRO1 ได้ในสไลด์โชว์ด้านล่าง

This slideshow requires JavaScript.

แล้วก็ห่างหายกันไป เพราะไม่มีกล้อง FUJI ในมือ จากงานการ อาชีพ ที่ต้องถ่ายวิดีโอ ไทม์แลปส์ และใช้ไฟล์ใหญ่โตสำหรับงานพิมพ์ รวมถึงงบประมาณการครอบครองอุปกรณ์มีจำกัด จึงจำใจต้องปล่อย X-PRO1 ออกไป
จนกระทั่งมาถึงยุคของ X-TRANS III นี่ จึงได้ขอยืมบริษัท ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย มาลองเล่นดู

บอกได้เลยว่า “Love at First shot!!!!” นะ ไม่ได้โม้
ทำไม่น่ะหรือ?

_DSF9920-1-3
ถ่ายไปเลย เดี๋ยวมาดูกัน

รูปแรก ที่เริ่มกดชัตเตอร์นี้ ผมยืนตั้งหลักปรับตัวอยู่ใต้ต้นไม้ ช่วงเย็นมากๆ ในวัดแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ

ความสงสัยแรกของผมก็คือ ขนาดไฟล์ ความละเอียด และสีสันของ X-Trans3 นั้น มันเป็นอย่างไร?
ผมลองใช้ Film Simulation แบบ PROVIA/Standard เป็นแบบแรก จากทั้งหมด 14 แบบ ที่กล้องมีให้ และทดลองใช้ White Balance แบบ Auto เพื่อลองของ

_DSF9920-1-2
ขยายภาพ 50% ขึ้นมาดูรายละเอียด

ซึ่งเมื่อขยายดู ก็ต้องบอกว่า “เก่ง” ทำงานได้เลย Noise น้อย สีอิ่มสด คอนทราสท์กำลังดี ไม่ Over Saturated
และมีรายละเอียด ทาง Dynamic Range มากพอสมควร ไฟล์ขนาด 24 MP เท่ากับ APS-C  DSLR แบรนด์ใหญ่ รุ่นโปร ที่มีราคาพอๆกัน

DSCF9649-1

เดินวนเวียนใต้ชายคาวัด หลบร้อนก่อนจะได้ภาพนี้มา ผมว่าผมอยากดู Detail และความเปรียบต่าง ร่วมถึงการจัดการสีแดงโดยเซนเซอร์ ซึ่งก็ไม่เลวนัก สำหรับแสงผสมแบบนี้

DSCF9633-1-2

เริ่มเปลี่ยน Film Simulation เป็น VELVIA/ VIVID เพราะสมัยถ่ายฟิล์มสไลด์นั้น เจ้าฟิล์ม VELVIA นี้ เป็นฟิล์มที่ผมชอบใจมาก สีสัน คอนทราสท์ ความอิ่ม มันสุดๆจริงๆ

DSCF9655-1-2

ตอนแรกผมคิดว่า VELVIA จะทำให้คอนทราสท์จัดมากจนเสียช่วงกว้างของ Dynamic Range แต่ก็ยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ไม่จมหายไปในความมืดแบบ X-TRANS1 ของ X-PRO1 สมัยก่อน

DSCF9644-1

ดูความอิ่มสีจาก VELVIA ที่ถ่ายมา ก็ไม่ต้องเร่ง  Saturate และ Vibrance กันแล้วมั๊งครับ

DSCF9671-1

สว่างที่สุด จนถึงมืดที่สุด แบบไม่ต้องขุด RAW

DSCF9665-1

ปกติ เวลาที่ถ่ายภาพวัตถุสีทอง ก็มักจะกังวลว่าจะมี สีเขียว ปนเข้ามาในทอง
แต่ Film Simulation แบบ Velvia ของ X-PRO2 นี้ นับว่ามีสีเขียวปนเข้ามาน้อยมาก จนไม่ต้องดูดสีเขียวออก

DSCF9729-1

แสงจากหน้าต่าง กับแสงภายในห้องบริเวณมุมมืดนั้น ต่างกันร่วมๆ 4 stop
แต่ถ้าตั้งใจจะดึงแสงในไฟล์ RAW จริงๆเมื่อไร ผมว่าก็ไม่ลำบากอะไรนัก เพื่อนนักขุดทั้งหลาย สบายใจได้

มีปัญญา อยากขุด ก็ขุดกันไป มีของดีแล้วไม่ใช้ มัวแต่รังเกียจว่าใช้ไฟล์ RAW ไม่ได้จบหลังกล้อง ไม่เก่ง แบบนั้นไม่ฉลาด เหมือนซื้อเฟอร์รารี่ มาขับในเยาวราชที่รถติดทั้งปี คือมันได้แต่ความเท่ แต่ไม่ได้สมรรถนะความแรงของเครื่องยนต์ คิดแบบนั้นเพื่ออะไร?

Tone & Shade + Dynamic Range

DSCF9744-1

รูปนี้ นิมนต์เณรที่อ่านหนังสืออยู่ มานั่งเป็นนายแบบเช็ค TONE สีผิวสักหน่อย
ใช้ Film Simulation แบบ Classic Chrome ซึ่งผมคิดว่าสีผิวถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงที่สุดสำหรับงานแนวผมนะครับ (ไม่ใช่แนวนางแบบ หวานใส) การไล่โทน มืดไปสว่างทำได้ดีมาก ทั้งๆ ที่ปริมาณแสงต่างกันมาก เหลืองทองไม่เพี้ยน ผิวมี magenta เรื่อๆ  เรียกได้ว่า ถูกใจแนว Street Portrait แบบผมมาก

แต่ถ้าใครไม่ชอบเหมือนผมก็อย่างเพิ่งขัดใจ เพราะกล้องให้ Film Simulation มามากมาย จะเลือกตั้งแต่ตอนที่ถ่าย Jpeg หลังกล้องก็ได้ หรือถ่ายเป็น RAW มาเลือกใน  Lightroom CC ผ่าน Camera Profile ที่มีอยู่ในโปรแกรมก็ได้ ไม่ผิดกติกาอะไรทั้งสิ้น
(ที่โชว์นี่เฉพาะ Film Simulation แบบสี เท่านั้นนะครับ ถ้ารวมขาวดำด้วยก็จะมีถึง 14 แบบให้เลือกจนงง)

Screen Shot 2016-04-19 at 9.05.44 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.05.56 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.06.05 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.06.20 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.06.27 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.06.35 PMScreen Shot 2016-04-19 at 9.06.43 PM

ชอบสีแบบไหน ดู Camera Profile ที่ลายน้ำในภาพเอาเองครับ เรื่องสีนั้นคงไม่พูดมาก

_DSF0381-1-14_DSF0381-1-13_DSF0381-1-12_DSF0381-1-11_DSF0381-1-10_DSF0381-1-9

แต่พอเป็นขาวดำ เราจะพบว่ามี Profile ใหม่ๆขึ้นมา คือ ACROS, ACROS Yellow, Red, Green ที่เพิ่มเติมขึ้นมาจาก ขาวดำ MONOTONE ธรรมดา โดยจะเพิ่มคอนทราสท์มากกว่าปรกติ ดำลึกกว่า ขาวสว่างกว่า MONOCHROME

และที่สำคัญคือ ฟูจิพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ภาพที่ถ่ายจาก ACROS นี้ ออกมามี “เกรน” ที่สมจริงเหมือนตอนที่เราถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำมากที่สุด คือไม่ใช่ใส่เกรนลงไปในทั้งภาพ แต่จะเลือกทำให้นอยซ์ปรากฏขึ้นมาเฉพาะในบริเวณที่ควรจะมีน๊อยซ์บนฟิล์มเท่านั้น รวมถึงน๊อยซ์เหล่านี้ จะแปลผันไปตาม ISO ที่ใช้อีกด้วย
นี่ล่ะ ที่ผมบอกว่า “Something Remind me to Films”

csm_Story1_Acros3_8a77f3385dรูปแบบเส้นกร๊าฟของ ACROS  ที่ชันกว่า MONOCHROME ปกติ

_DSF0381-1
ACROS
_DSF0381-1-5
ขาวดำปรกติ MONOCHROME

ที่เหลือก็เป็นการลดทอนปริมาณแสง ตามฟิลเตอร์สีที่ใช้ เช่นสีเหลือง ก็ทำให้ผิวสว่าง สีเขียว ก็ทำให้ผิวเข้มมาก ส่วนสีแดง เวลาถ่ายคนต้องระวังให้ดี เพราะปากจะขาวเนื่องจากฟิลเตอร์แดง ยอมให้สีแดงเข้ามากกว่าเดิมนั่นเอง

แบบ ACROS มีฟิลเตอร์สี

_DSF0381-1-3

 

_DSF0381-1-2

_DSF0381-1-4

แบบ MONOCHROME มีฟิลเตอร์สี

 

_DSF0381-1-7

_DSF0381-1-6

_DSF0381-1-8

ชอบแบบใด เลือกใช้ให้ถูกกับงานนะครับ

…………….
2 Types of Manual Focus Assist

_DSF9918-1-3

เมื่อทดลองใช้การโฟกัสแบบ Manual ที่มีตัวช่วยโฟกัสให้เลือกสองแบบ
แบบแรกคือ Peaking focus ด้วยปื้นสี ซึ่งก็มีให้เลือกหลายสีหลายระดับตามความถนัด ซึ่งเหมาะกับการหมุนหาโฟกัสบนวัตถุที่เป็นชิ้นใหญ่ แยกกันชัดเจน
แต่หากเป็นวัตถุแบนๆ มีรายระเอียดเยอะๆ หรือการใช้เลนส์มุมกว้าง และใช้ f stop แคบๆ
ซึ่งดูเหมือนจะชัดไปซะทั้งภาพ ไอ้เจ้า Peaking นี่จะรบกวนสายตามาก เพราะทั้งภาพจะเต็มไปด้วยปื้นของสีที่เราตั้งค่าเอาไว้
X-PRO2 ฉลาด ที่ให้ตัวช่วยโฟกัสแมนนวลแบบ Split image focusing เพิ่มกำลังขยายเวลาโฟกัส มีทั้งแบบเป็นสีตามที่เห็น หรือเปลี่นเป็นขาวดำให้ดูง่ายขึ้นเวลาที่ภาพเต็มไปด้วยรายละเอียดของสี

มันช่วยให้การโฟกัสด้วยมือ บนวัตถุแบนราบแต่มีรายละเอียดสูง เช่นรูปตัวอย่างด้านบนนี้ง่ายขึ้นเป็นกอง
และผมว่า Split image focusing นี่ล่ะ ที่ถูกใจผมมากที่สุดในการทดสอบวันแรก

นอกจากนั้น หากเปลี่ยนช่องมองภาพเป็นแบบไลฟ์วิวแบบ optical view finder แต่ก่อนนี้ ใน X-PRO1 จะมีแต่เฟรมขนาดภาพตามเลนส์ที่ใช้มาให้ แต่ต้องใช้ออโต้โฟกัสเท่านั้น เพราะ OVF  ไม่มีตัวช่วยโฟกัสแบบแมนนวลมาให้ พอเป็น X-PRO2 ซึ่งเป็นช่องมองภาพแบบไฮบริด จะมีพีคกิ้ง หรือสปริทอิมเมจปรากฏซ้อนขึ้นมาบน OVF ช่วยให้หมุนหาโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยยังมองเห็นวัตถุที่อยู่นอกระยะกว้างของเลนส์ได้เช่นเดิม
แบบนี้ มันส์มากนะ ขอบอก

This slideshow requires JavaScript.

……………..

Something remind me to films

_DSF9891-1

อารมณ์ สีสัน ที่ได้จาก Jpeg มันพาให้ย้อนคิดถึงวันเก่าๆ ที่ใช้ฟิล์มสไลด์ PROVIA และ VELVIA เดินทางท่องเที่ยวถ่ายภาพ
กล้องน้อยตัวนักที่จะจัดการสีมาให้ใช้ ได้อย่างตรงใจคนที่ชอบสีแบบฟิล์มสไลด์สี

_DSF9886-1-2

….อย่าลืมนะครับว่า ฟิล์มที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ก็เป็นผลิตภัณฑ์ของ FUJIFILM นี่ล่ะครับ
มันจะไม่โดน ไม่คิดถึงอารมณ์ของฟิล์มสไลด์ ได้อย่างไร?

_DSF9888-1

13041409_1051708358223600_1118717931862291887_o

มีคำถามหนึ่งผุดขึ้นมาในหัว ตั้งแต่สมัยที่ X-PRO1 ออกมาใหม่ๆ คือ
“ช่างภาพแบบไหนกัน ที่จะซื้อ X-PRO 1 ราคาหกเจ็ดหมื่นมาใช้ถ่ายภาพ (ราคาออกใหม่ๆ)
รวมเลนส์ด้วยก็รวมแสน…………………แต่สุดท้ายผมก็ซื้อมันมาใช้นะ

นั่นล่ะ จึงได้คำตอบว่า ช่างภาพประเภทไหนกัน ที่ซื้อมันมาใช้งาน

คงไม่ใช่แนวที่รับจ้างถ่ายภาพนิ่ง ปรีเวดดิ้ง อาหาร อินทีเรีย แบบนั้นแน่ๆ เพราะงานแนวนั้น ใช้ DSLR ที่มีเลนส์ให้ใช้มากมาย จะคุ้มค่ากว่า จะมีบ้างที่เอา X-PRO1 ไปใช้งาน ก็ในลักษณะกล้องสำรอง หรือสอดคล้องกับงาน เช่นในงานเลี้ยงกลางคืน เดินสแน็ปไปเรื่อยๆ แบบนั้น

แต่ส่วนใหญ่ที่ซื้อ ก็คือท่านที่นิยมเดินทางท่องเที่ยว ถ่ายภาพ บันทึกความทรงจำ ชนิดที่ต้องการคุณภาพไฟล์ ในขนาดอุปกรณ์กระทัดรัด ดูดี ปรับตั้งเองได้ทุกอย่าง หรือบางโอกาส จะใช้โปรแกรม ออโต้ ก็วางใจ
โดยเฉพาะคนที่มีเลนส์มือหมุน M-Mount อยู่บ้างแล้ว ก็ยิ่งชอบความเป็นคอมแพ็คโปรของ X-PRO ทั้ง 1 และ 2 เข้าไปอีก

ผมเองไม่ใช่ช่างภาพแนว Street Photography ที่เก่งเรื่องแก๊ก มุก หรือมุมมอง ชนิดที่แนวสตรีทในเมืองไทยนิยมกัน และก็ไม่ใช่แนวแลนด์สเค็ป ปีนเขา รอแสงเทพเหยียบหิมะ ล่าทางช้าง ตั้งขาเก็บแสงไหล หรือไม่เคยคิดไปต่างประเทศเพื่อรีวิวกล้องหรือเลนส์ ก็ถ่ายกันไปตามเรื่องตามราว แบบ Real World Review นี่ล่ะครับ….ว่างเมื่อไรผมก็มักที่จะเดินเก็บภาพชีวิตทั่วไปตามท้องถนน โดยเฉพาะการบันทึก Street Portrait นั้น เป็นสิ่งที่รื่นรมณ์มากสำหรับตัวผม และ X-PRO2  ก็ช่วยได้มาก

_DSF0321-1

เจออะไรก็บันทึกไปเรื่อย ใช้การปรุงแต่งภาพในกล้องแบบ Velvia ตั้ง White Balance DayLight +2R,2B  ชดเชยแสง -1stop

_DSF0218-1-2

มันง่ายที่จะเดินไปพร้อมกล้องตัวเล็กๆ ใช้เลนส์ตัวเดียวไม่เปลี่ยน แล้วท่องเที่ยว ชมชีวิตไปเรื่อยเปื่อย

_DSF0335-1

ความที่กล้องดูไม่ใหญ่โต เล็ก เป็นมิตร เราสามารถถือถ่ายแบบ Snap ได้ในระดับอก โดยไม่ต้องยกกล้องแนบตาให้เป้าหมายเกร็ง หรือเปลี่ยนท่าทางผิดไปจากธรรมชาติที่เขาเป็น

_DSF0343-1

ลองใช้ Viewfinder แบบ Optical Viewfinder แบบไฮบริดจ์ มองภาพแสงจริง โดยมีจอโฟกัสเล็กๆ เป็น electronic viewfined  จิ๋วๆ  ปรากฏซ้อนขึ้นมาในภาพ ก็ทำงานได้ดี โดยเฉพาะในที่แสงมีความเปรียบต่างสูงอย่างรูปข้างบนและข้างล่างนี้
_DSF0352-1

Auto focus แบบเลือกโฟกัสที่ใบหน้า ช่วยได้มากในเวลาที่รีบ

_DSF0386-1

จอยสติ๊กเลือกจุดโฟกัส ทำงานเร็ว สะดวก สอดคล้องกับจุดโฟกัสแบบ phase-detect ถึง 169 จุด และหากรวมแบบธรรมดาด้วย ก็จะมีจุดโฟกัสถึง  273 จุดกระจายอยู่ทั่วภาพ จะดันจอยสติ๊กไปสุดมุม ก็ยังโฟกัสได้ดี

น้า ขอถ่ายรูปนะครับ
…น้าผู้ชาย ทำตาเขียวใส่ “จะถ่ายทำไม?”

แฟนน้าสวยนะ (ผมเต้นฟุตเวิร์คเอาตัวรอด)

“… ไม่ใช่แฟนนะ” พี่ผู้หญิงพูดสวนมาทันควัน
“หนูนั่งอยู่ ลุงแกมาชวนคุย คุยเป็นชั่วโมงแล้ว ไม่ยอมไปไหน”

อ้าวน้า จีบสาวอ่ะดิ แบบนี้?

“อีนางมันน่ารักดี ลุงชอบ” พลางยกนิ้วโป้งแสดงให้รู้ว่าพูดจริงๆ

นั่นไง เจ้าชู้นะเรา
ระหว่างนั้น ผมก็ใช้จอยสติ๊กเลือกจุดโฟกัสไปมา ถือเป็นการถ่ายภาพที่มีความสุขอีกวันหนึ่ง

_DSF0392-1_DSF0393-1

_DSF0399-1

 

_DSF0396-1

น้านี่ อย่างเท่

……………….

ISO / NOISE

เรื่อง iso ที่สูงมากๆ มันแสดงถึงเทคโนโลยี ที่ดี แปลว่าเซนเซอร์และการประมวลผลนั้น เก่ง
หลายท่าน กังวลเรื่อง Noise ที่ ISO สูงๆ เปรียบเทียบกับกล้องนั้นกล้องนี้ ว่าอะไรดีกว่ากัน
แต่ผมขอสารภาพว่า ผมไม่ใช้ ISOสูงๆ ในการถ่ายงาน
ต่อให้เดินถ่ายในที่ไม่มีแสง ผมก็ใช้ ISO ต่ำที่สุดเท่าที่จะใช้ได้
รูปที่เดินถ่ายใน กทม. นี้ ใช้ L (iso100) ทุกรูป ไม่เคยเปิด iso auto
รูปพ่อค้าผัดก๋วยเตี๋ยวนี่ก็ขยับมาเป็น ISO200 เท่านั้น
ก็ทำไมต้องใช้ iso สูงๆ ล่ะ ภาพมี Movement บ้าง ก็ได้อารมณ์ดีนะครับ
ตอนสมัยที่ใช้ฟิล์ม ใส่ม้วนไหนไปก็ใช้ไปจนหมดนั่นล่ะ เปลี่ยน ISO กลางม้วนได้ซะที่ไหนล่ะ
อีกอย่างคือ ISO  สูงมากๆนั้น ถ่ายมาได้ แต่มักเเอาไปใช้อะไรไม่ได้ ว่ามั๊ย?
ขนาดว่ากล้องที่ใช้ประจำอยู่จริงๆนั้น เคลมว่าตั้ง iso ได้เป็น แสน แต่ผมก็ไม่เคยลองมันเลย แม้แต่รูปเดียว
ส่วนมาก เหลือทนจริงๆ ต้องถ่ายวิดีโอ ก็ไม่เกิน iso800

_DSF0470-1-2
iso200 XF 23mm. at f1.4 shutter speed 1/40

ดังนั้น การทดสอบ Noise ผมจะทดสอบที่ iso 800 ซึ่งเป็น iso ที่ผมคิดว่ามันใช้งานได้จริงเท่านั้น
_DSF9975-1-2_DSF9975-1

iso 800 ขยายขึ้นมาดูน๊อยซ์ที่กลางภาพ

_DSF9986-1_DSF9986-1-2

iso 800 ยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทำงานได้
การทดสอบ ไม่ได้ใช้ Noise reductions ทั้งจากในกล้อง และในโปรแกรม เพราะต้องการให้เห็นไฟล์จริง
……………………………………

_DSF0554-1

บทสรุป จากการถือถ่ายภาพแค่สี่วัน

  • ไฟล์ RAW เนียนกว่าเดิม ไม่ค่อยเปลืองแรงขุด
  • ไฟล์ภาพ Jpeg สวย Camera Profile หลากหลาย ถ้าเลือกให้เหมาะกับงาน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
  • Dynamic Range อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ผมใช้กล้องอื่นหลายตัว)
  • White Balance แม่น สามารถทำ Color Shift เพิ่มได้ตามสไตล์ที่แต่ละคนชอบ 
  • ผมไม่ค่อยบ้าเรื่อง ตัวเลข ISO ขอผ่านประเด็นนี้
  • ขนาดกำลังดีสำหรับการถือเดินทาง ท่องเที่ยว พกพา
  • ควบคุมง่าย ปุ่มกดไม่ซับซ้อน และวงแหวนกลไก ก็น่าหลงไหล
  • เลนส์  XF  ของฟูจิที่ผมได้มาทดสอบร่วมนั้นก็มีขนาดกระทัดรัด ให้คุณภาพสูง และทำงานร่วมกันอย่างลงตัว
    ความสามารถในการโฟกัสนั้น ผมว่าเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป
  • ผมถูกใจจอยสติ๊กเลือกโฟกัส และช่องมองภาพแบบไฮบริดจ์เป็นพิเศษ ถ้าฝึกใช้งานให้คล่อง กระบี่เล่มงามจะอยู่ในมือเรา
  • มี  RAW Converter มาให้ในเมนูการเอาท์พุทไฟล์ ซึ่งแก้ไขสีภาพได้ตั้งแต่ในกล้อง
  • หล่อ นี่อารมณ์ล้วนๆ

ที่ไม่ถูกใจ

  • ความจุแบตเตอร์รี่ ต่ำเกินไป 
  • ไม่มีปุ่มRecord  วิดีโอโดยตรง อาศัยอยู่ในปุ่มอื่นๆที่ต้องตั้งขึ้นมาเฉพาะ
  • จอไม่กระดก อด Selfie นะหล่อนๆ
  • การประมวลผลไฟล์ภาพเมื่อถ่ายต่อเนื่อง มีอาการหน่วง ช้า โดยเฉพาะเมื่อถ่ายแบบ RAW+Jpeg fine
  • สีดำมัน เป็นรอยง่าย (นี่ประสบการณ์จริงของคนรักอุปกรณ์)

 

ความเห็นส่วนตัว
อย่าบอกใคร ว่ากล้องตัวไหนสุดยอดที่สุดในโลก หรืออย่าประกาศตัว ว่า I’m……. หรือ ขอบแดง ธงฟ้า………หรือเป็นสาวกของค่ายใดค่ายหนึ่งแบบบ้าคลั่ง

คุณไม่มีทางรู้ว่า ความสุดยอดของเทคโนโลยีในวันนี้ จะถูกแทนที่โดยเทคโนโลยีที่ดีกว่า เมื่อไร

ใช้กล้อง และเลนส์เป็นเครื่องมือ อย่าให้มันกลายเป็นนาย ผูกมัดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่จำเป็น

การถือ X-PRO2 ออกเดินถ่ายภาพ เพียงแค่ สี่วัน (เฉพาะช่วงบ่ายเย็นของแต่ละวัน) หากผมพูดว่า
“กล้องตัวนี้มันสุดยอด” เมื่อไร ให้จำเอาไว้เลยว่า …ผมกำลังตอแหลให้คุณฟัง!!!

เพราะ ผมยังเรียนรู้ ทำความรู้จักกับเมนูต่างๆ ของมันไม่หมดทุกเมนู
ผมยังไม่ได้ลองถ่ายภาพ ในสถานการณ์ และรูปแบบ ที่ครบถ้วน ตามที่ควรจะเป็น
ผมเพียงแค่ทดลอง สิ่งที่ผมถวิลหา นั่นคือ อารมณ์ฟิล์ม ทั้งสี สไลด์ ขาวดำ ที่ผมคิดถึง
โดยใช้ Camera Profile ที่ FUJIFILM พยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของคนที่เคยมีประสบการณ์ในยุคนั้น

_DSF0536-1

และเมื่อมองให้ดีๆ ผมกำลังพูดถึงงานทางวิศวกรรม อิเล็คโทรนิคขั้นสูง ที่พยายามทำตัวเองให้เหมือนกับ Analog
เหมือนหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาด ที่พยายามทำตัวเลียนแบบมนุษย์ ซึ่งเลียนแบบได้บ้างในบางจุด คงไม่มีทางที่จะเหมือนกันได้ทั้งหมด และคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการพัฒนาให้สมบูรณ์แบบ
ซึ่งคุ้มค่าแก่การรอคอย….

_DSF0584-1

เมื่อเปรียบเทียบหุ่นยนต์ กับมนุษย์ ในแง่ของความแม่นยำ รวดเร็ว การวิเคราะห์ จำแนก ….หุ่นยนต์ย่อมทำได้ดีกว่ามนุษย์อยู่บ้าง แต่หากเปรียบเทียบกันทางด้านอารมณ์ ก็คงต้องตอบว่า ไม่มีอะไรที่จะมาแทนที่อารมณ์ของมนุษย์ได้ …มันไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบ หรือความถูกต้อง แต่มันคือ……………… “จินตนาการ”

_DSF0583-1

และสิ่งเดียวที่ผมกล้าพูด เกี่ยวกับ X-PRO2 ในวันนี้ ก็คือ
_DSF0591-1

มันเป็นกล้องที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ แบบฉับพลัน ที่จะพาผมย้อนอดีต ความรู้สึก และประสบการณ์สมัยยังหนุ่ม เดินหิ้วกระเป๋ากล้องตามครูผู้มากประสบการณ์ ออกท่องโลก ด้วยฟิล์มที่มี ISO สูงสุด ไม่เกิน 400
ไม่มีฟิลเตอร์สี ไม่มีจอหลังกล้อง ไม่มีไฟแฟลชช่วยถ่ายภาพ และไม่มีอะไรอีกมากมายแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน

จะมีก็แต่ “ความพยายามที่จะสื่อสารเรื่องราวที่พบเห็น ผ่านฟิล์ม ด้วยจินตนาการอันเต็มเปี่ยม โดยไม่บิดเบือน”

มีรางวัล เป็นความรู้ และความเข้าใจในสิ่งต่างๆที่พบเห็น ได้พูดคุย และได้ฟัง ในระหว่างที่ถ่ายภาพ
_DSF0617-1

อย่านำ X-PRO2 ไปเปรียบเทียบกับใคร ในราคาเดียวกัน

เพราะเมื่อคุณมองมาที่ X-PRO2 คุณไม่ได้ต้องการแค่เครื่องมือถ่ายภาพทั่วๆไป

แต่คุณกำลังมองหากล้องถ่ายภาพที่ตอบสนองอารมณ์ และความปรารถนาภายในของตัวคุณเอง

_DSF0659-1

“สำหรับผม การถือ X-PRO2 เดินถ่ายภาพ
ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าผมเป็นช่างภาพชั้นเทพ
แต่ X-PRO2 ทำให้ผมกลายเป็นคนหนุ่ม
ที่พยายามตามหาและทำความเข้าใจกับ ทุกๆ เรื่องราว
ระหว่างทางที่เดินย้อนอดีต กลับไปสู่ยุคของฟิล์ม”
………………………….

 

 

พิษณุ โถยอด
3 พฤษภาคม 2559

 

 

Read more "FUJIFILM X-PRO II : Something Remind me to Films"

Lens Perspective คืออะไร?

11210514_868391186555319_7550606748598842361_n
สะพานที่ดูลาดชันมากๆ จนเป็นข่าวโด่งดังถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการออกแบบอยู่พักใหญ่ โดยฝีมือการแชร์ภาพแบบไร้จริยธรรม และขาดความเข้าใจเรื่อง lens perspective  สักแต่ว่าอยากด่าก็ด่า ไม่ลืมหูลืมตา ไม่หาความจริง

สะพานข้ามแม้น้ำตาปีนี้ สูงและมีมุมลาดเอียง ชันมากจริงๆหรือ ?
หรือเราถูก Lens Perspective ลวงตา

10660245_868391383221966_8062897738016905385_n
เมื่อถ่ายภาพใกล้ๆ ด้วยเลนส์ Wide-Normal ความลาดชันก็ดูปรกติธรรมดา

ความจริงแล้ว สะพานไม่ได้มีมุมลาดเอียงมากจนน่ากลัวแบบที่เห็น
แต่เป็นเพราะช่างภาพใช้เลนส์ super telephoto ทางยาวประมาณ 600 มม.ถ่ายภาพมาในมุมเกือบตรง
ทำให้กลางสะพาน ที่อยู่ไกล ขยับเข้ามาใกล้หัวสะพานมากขึ้นจนถึงจุดผิดเพี้ยนทางเปอร์สเป็คทีฟ
โดยตั้งกล้องอยู่ห่างจากหัวสะพานประมาณ 1 กิโลเมตร

เข้าเรื่อง Lens Perspective กันดีกว่า

บางท่านอาจเข้าใจไปว่า Lens perspective ต้องถ่ายด้วยเลนส์ไวด์ ให้เห็นเส้นวิ่งสอบลึกเข้าไปในภาพเท่านั้น

แต่ความจริงแล้ว เลนส์ทุกตัว มีเปอร์สเป็คทีฟของมันเองทั้งนั้น และขึ้นอยู่กับว่า เราจะใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไร เช่น

 

A00_4688-1-2ใช้เลนส์ไวด์ถ่ายในมุมเสยเล็กน้อย ให้วัตถุดูยาวขึ้น ดูเล็กใหญ่แตกต่างกันมากๆ  ก็ใช่

The Kingdom of Pagan

ใช้เทเล ดึงภูเขา หรือต้นไม้ เจดีย์ ที่สลับซับซ้อน ไกลออกเป็นสิบๆกิโลเมตรให้เขามาซ้อนเป็นเลเยอร์ชิดๆกัน ดูลดหลั่นแปลกตา แน่นหนา ก็ใช่

11000817_835066553221116_3671654069807643669_o

ใช้เลนส์ช่วง Normal ถ่ายภาพคนในสถานที่ต่างๆ ให้ดูสมจริง มีสัดส่วนแบบที่ตาเราเห็นนั้น ก็ใช่

ทั้งหมดนี้คือผลที่ได้จาก Lens Perspective ทั้งสิ้น ไม่จำกัดเฉพาะเลนส์ไวด์อย่างเดียว
(นี่ยังไม่ได้พูดถึง ดิสทอร์ทชั่น ต่างๆเลยนะครับ)


perspective_wide

perspective_tele

เมื่อเราพิจารณาภาพประกอบ สองภาพข้างบน เราจะเห็นตัวแปรคงที่ นั่นคือ ระยะห่างระหว่างต้นไม้สองต้น
กับอีกตัวแปรหนึ่ง ซึ่งผกผันตามระยะห่าง ระหว่างกล้องถึงวัตถุชิ้นแรก ซึ่งห่างมาก หรืออยู่ใกล้นั้นก็ขึ้นกับมุมรับภาพของเลนส์ (ในกรณีที่เราต้องการให้วัตถุมีขนาดในเฟรมเท่ากันทั้งสองภาพ)
เลนส์ไวด์ เราถ่ายที่ระยะใกล้ เลนส์เทเล เราต้องถอยออกไปอยู่ไกล เพื่อจะถ่ายต้นไม้ได้เต็มต้นเหมือนเดิม

control-perspective

กล้อง=A , วัตถุชิ้นหน้า =Bวัตถุชิ้นที่ 2 =C
ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุชิ้นหน้าสุด = A-B
ระยะจากวัตถุ Bถึง C = B-C

ภาพประกอบด้านบน แสดงระยะจากกล้องถึงวัตถุ ซึ่งผันแปรไปตามมุมรับภาพตามระยะเลนส์ และมีผลต่ออัตราส่วน ของวัตถุชิ้นแรกกับชิ้นที่อยู่ถัดไปในทันที
_DSF0352-1

กล่าวคือ ยิ่ง A อยู่ห่าง B อัตราส่วนของวัตถุ  C ที่อยู่ลดหลั่นไป จะน้อยลง
เมื่อน้อยลง ก็จะมีความแตกต่างด้านขนาดทางกายภาพน้อยลงไปด้วย
ในขณะที่หากเข้าไปถ่ายใกล้ๆ อัตราส่วนระยะห่างจะเพิ่มขึ้น เพราะระยะทางจากกล้องถึงวัตถุชิ้นแรก สั้นลงอย่างมีผลทางตัวเลข กระทบกับระยะห่างของวัตถุสองชิ้นในภาพโดยตรง

จากภาพประกอบนี้ จะเห็นว่า
ที่ Close viewpoint วัตถุที่อยู่ใกล้ จะใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ไกลอย่างเห็นได้ชัด เพราะสัดส่วนคือ 1:2
ในขณะที่ Distant viewpoint นั้นสัดส่วนของวัตถุชิ้นหน้าและหลังจะใกล้เคียงกัน เพราะต่างกันเพียง 1:1.2 เท่านั้น

belief-fig1-fig2
ในกรณีที่ต้องการถ่ายวัตถุให้มีขนาดเท่าเดิม มุมรับภาพแบบกว้าง เราต้องเข้าใกล้ ในขณะที่มุมรับภาพแคบ ต้องถอยออกมาไกล ซึ่งระยะที่กล้องอยู่ห่างจากวัตถุนี้เอง ที่มีผลผกผันกับระยะของวัตถุต่างๆในภาพ

ตัวอย่าง_DSC6088

เราถ่ายภาพให้เห็นว่า ท่าช้าง อยู่ชิดกับวัดอรุณฯ ได้ง่ายๆ ด้วยเลนส์ Super Telephoto
สาเหตุก็เพราะ ระยะทางจากท่าช้าง (B) ถึงวัดอรุณฯ(C) นั้น ใกล้เคียงกับระยะทางจาก กล้อง (A) ซึ่งตั้งอยู่ที่ท่าเรือรถไฟ ไปถึงท่าช้าง(B)
ระยะที่เกือบจะเท่ากันนี้เอง ที่ทำให้ขนาดของ B กับขนาดตามสัดส่วนของ C ไม่ต่างกันมาก
จึงเกิดอาการ distant perspective ขึ้นในภาพ

Screen Shot 2016-04-28 at 12.47.06 AM

ตัวอย่างที่ 2 ในเรื่อง Distant Perspective1956762_701264403267999_4542440891917766958_o

BTS ที่หดสั้น กลายเป็นหนอนรถด่วนตัวป้อม
เกิดจาก การตั้งกล้องถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ 600mm. จากสถานีเอกมัย มองไปทางสถานีพระโขนง
กล้องอยู่ห่างจากหัวขบวนรถ ในอัตราส่วนที่มากกว่าระยะทางจากหัวขบวน ถึงท้ายขบวน
โดยแตกต่างกันหลายเท่าตัว จนเกิดความผิดเพี้ยนของเปอร์สเป็คทีฟระยะไกลขึ้นในภาพ
สมมุติว่า A-B = 800เมตร
B-C = 100 เมตร
อัตราส่วนจะติดลบเป็น 1 : 0.33 ซึ่งนี่เองทำให้มันหดลงมากว่าความเป็นจริง

ตัวอย่างที่3PST_2409-2

ป้ายไฟที่เยาวราชนี้ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยผ่านตา และถ่ายภาพกันมาบ้างแล้ว
ถ้าใช้เลนส์ wide angle หรือ normal ถ่ายโดยยืนอยู่ใกล้ๆป้ายไฟอันแรก เราจะไม่เห็นว่ามีป้ายอัดแน่นแบบนี้

แต่ในขณะเดียวกัน หากใช้ 600mm. ถอยไปยืนถ่ายที่หัวถนนไกลจากป้ายแรกหลายร้อยเมตร อัตราส่วนของป้ายถัดๆไปจะไม่ต่างจากป้ายแรกมากนัก และทำให้มันยังมีขนาดใกล้เคียงกัน จนดูเหมือนเข้ามาอยู่ใกล้กัน

12593821_994882880572815_7242833611020922135_o

600mm. ดึงเอาภูเขาสีเข้มที่อยู่ไกล เข้ามาเป็นฉากหลังได้

_PIS6423-Edit-1

ภาพทุ่งนาที่ SAPA นี้อาจดูธรรมดา แต่เชื่อหรือไม่ว่า นี่คือการใช้ประโยชน์จากเลนส์เปอร์สเป็คทีฟวิธีหนึ่ง กล่าวคือแทนที่จะถ่ายภาพนี้ด้วยเลนส์มุมกว้าง 14-24mm. ซึ่งทำให้ภูเขาสีเข้มนั้น ถูกดันออกไปไกลจากทุ่งนาและลำน้ำมากกว่าที่ตาเห็น ซึ่งถ้าถ่ายด้วยเลนส์ wide ภาพจะดูเวิ้งว้างกว้างไกลกว่านี้
ผมเลือกที่จะเป็น panorama แนวตั้ง ด้วยเลนส์ขนาด 105mm. แล้วนำมาต่อกันจนได้ภาพกว้าง ที่ไม่เสียเปอร์สเป็คทีฟ แบบเลนส์ wide ทั่วไป

wntlines
แสดงระยะห่าง ของวัตถุสองชิ้น เมื่อใช้เลนส์ต่างระยะ

970412_528881560506285_2070268543_n

ต้นเสาที่มีขนาดกว้างเพียงเมตรเศษ สามารถดูลึก ยาวได้ ถ้าถ่ายใกล้ด้วยเลนส์ไวด์

10003568_748949148499524_3638192525858737665_o

ผนังซู้มประตู อยู่ใกล้กล้องเพียงครึ่งเมตร ในขณะที่พระมัยมุนี ห่างออกไปจากกล้อง ห้าเมตร
เอา 0.5 หาร 5เมตร จะได้อัตราส่วน 1:10 แปลว่า พระจะเล็กลง 10 เท่า

 

 

สมมุติสถานการณ์ เมื่อใช้เลนส์ 600mm. ถ่ายภาพนี้
ระยะจากกล้อง ถึงคน คือ A-B (500m.)
ระยะจากคน ถึงเจดีย์ คือ B-C (800m.)
เมื่อ 800m. หาร 500m. จะเท่ากับ  1:1.6 นั่นคือเจดีย์มีขนาดเล็กลงแค่  0.6  ส่วนจากขนาดจริง

10661624_755614384499667_1562125100999254986_o

สมมุติสถานการณ์ เมื่อใช้เลนส์ 14 mm. ถ่ายภาพนี้
ระยะจากกล้อง ถึงผนัง คือ A-B = 0.50m.
ระยะจากผนังใกล้สุด ถึงคนที่นั่งอยู่ คือ B-C 12m.
เมื่อ 12m. หาร 0.5 m. จะเท่ากับ  1:24 นั่นคือคนจะมีขนาดเล็กลงถึง 24  ส่วนจากขนาดจริง

ข้อพึงสังเกตุ และควรระวัง
11154902_858346880893083_6907197621046511383_o
เมื่อทราบแล้วว่า เลนส์เทเลโฟโต้ที่ถ่ายห่างจากวัตถุ จะดึงให้วัตถุชิ้นถัดๆไป เข้ามาใกล้กันมากขึ้น ก็ต้องไม่ลืมว่า Heat Wave ที่บิดเบือนแสงในอากาศนั้น จะเด่นชัดขึ้นด้วย เพราะมันถูกดึงเข้ามาซ้อนกันเป็นชั้นๆ หนาแน่น จนมองทะลุลำบากเนื่องจากแสงหักเหไปทุกทิศทุกทาง

Screen Shot 2016-04-24 at 10.14.47 PM

Heat Wave จะบิดเบือนแสง จนเกิดอาการเบลอของภาพ หากถ่ายด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ระยะไกล ผ่านอากาศร้อน

10989525_838659196195185_8995268332469398705_o

การใช้เลนส์ไวด์ ถ่ายใกล้ จะต้องระวังเรื่องอัตราส่วน ที่แตกต่างกันมากๆ ระหว่างA-B และ B-C
(แต่ส่วนใหญ่เราก็ชอบดิสทอร์ทชั่นแบบนี้กัน)

PST_0797-1

_DSC0989-1

การใช้ประโยชน์จาก Lens perspective คือเลือกใช้ระยะเลนส์ให้ถูกต้อง สัมพันธ์กับระยะจากเลนส์ถึงวัตถุชิ้นหน้า และวัตถุบนฉากหลัง อย่างลงตัว

12249954_958699390857831_7222245450701413750_n

PST_4653-Edit-2-1-4
สรุปในช่วงที่1
การใช้เลนส์มุมกว้าง ถ่ายใกล้ ไม่ได้ทำให้มุมรับภาพกว้างขึ้นเท่านั้น แต่มันยังดันวัตถุในลำดับถัดไป ให้ถอยห่างออกไปด้วย
และในทางตรงกันข้าม การใช้เลนส์เทเล ถ่ายไกลจะดึงวัตถุในลำดับที่ 2, 3, 4 เข้ามาใกล้วัตถุชิ้นแรก นอกเหนือจากมุมภาพที่บีบแคบ

เดี๋ยวมาเล่าต่อ ในเรื่อง Lens perspective ของเลนส์ระยะเดียวกัน แต่ใช้ร่วมกับกล้องที่มีเซนเซอร์ขนาดไม่เท่ากัน

Read more "Lens Perspective คืออะไร?"

Vibrance และ Saturation

x_84074272

ตำราต่างๆ มักจะบอกว่า
Vibrance กับ Saturation นี้ถูกใช้เพื่อปรับค่าความอิ่มตัวของสีทั้งคู่  แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ  Saturation จะปรับค่าความเข้มสีแบบให้น้ำหนักเท่ากันหมดในทุก ๆ ช่วงสี
ในขณะที่ Vibrance จะปรับค่าความเข้มสีโดยให้น้ำหนักการปรับไม่เท่ากัน
Vibrance จะเน้นช่วงสีที่ยังอิ่มตัวน้อย  ให้มีความเข้มข้น อิ่มตัวมากขึ้น ตัวเลขที่ใส่ลงไปในการปรับคิดเป็นเปอร์เซนต์จากของเดิม  ส่วนช่วงสีที่อิ่มตัวเข้มข้นอยู่แล้วก็จะถูกมองข้ามไป หรือโดนปรับน้อยมาก ๆ
Saturation จะปรับทุก ๆ ช่วงสีขึ้นอีกตามเปอร์เซนต์ที่เราใส่ลงไป 

(-100 = Monochrome / +100 Doubled Saturation)  โดยไม่สนใจว่าจะมีช่วงสีไหนที่อิ่มตัวอยู่แล้วหรือไม่

Vibrance นี้มีประโยชน์มากสำหรับการ retouch ภาพโดยเฉพาะภาพถ่าย portrait ครับ  เพราะว่าสามารถป้องกันไม่ให้สีผิวของคนเกิดการอิ่มตัวมากเกินไป (Oversaturated)
ในทางกลับกัน Saturation สามารถคุมโทนสีภาพได้มากกว่า  เพราะส่งผลกระทบต่อภาพโดยรวมได้มากกว่า

อ่านแล้ว เข้าใจมั๊ย? หรือว่ายิ่งพากันงงไปกว่าเดิม?

1502405_753841128010326_2151764520653008994_o

แล้วที่ “เข้าใจง่ายๆ” นำไปประยุคใช้ได้จริงๆนั้น มันเป็นอย่างไร?

Screen Shot 2016-04-26 at 4.33.19 PM

ลองสังเกตุรูปด้านบน ที่กราฟสีของภาพให้ดีๆ เราจะเห็นแถบสีเทาดำ ปนอยู่ในกราฟสีต่างๆ ทั้งหมดที่มี
สีเทาที่ปนอยู่นี้ จะสร้าง Shade และ  Tone สีขึ้นมาในภาพ นั่นหมายถึง ทุกๆสี จะมีสีเทาและดำ ปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย

“สีจะสด หรือไม่สด ขึ้นอยู่กับว่า มีเนื้อสีเทา (Tone) และดำ (Shade) ปะปนอยู่มากเพียงใด”
มีสีดำมาก ก็ทึบแสง หม่น หนัก มีสีดำน้อยก็สดใส แปร๋น เบา

multi_colour_shade_t_mobile_mobile_wallpaper

zrt3xmbv78wddm9ucstm
Hues คือแม่สีพื้นฐาน, Tints คือสีที่ถูกผสมด้วยสีขาว, Tones คือสีที่มีสีเทาเข้าไปผสม และ Shades คือสีที่มีสีดำผสมอยู่

ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่ว่า เมื่อปรับแต่ง Saturation หรือ Vibrance แล้ว มันได้ผลต่างกันอย่างไร?
ทำไมจึงต้องมีเครื่องมือปรับแต่ง ถึงสองแบบให้เราเลือกใช้ ?

Settings6

คำตอบคือ
การปรับ Saturation  มีผลโดยตรงต่อ Tone & Shade
หรือค่าสีเทา-ดำ ที่ปนอยู่ในเนื้อสี

ส่วนการปรับ Vibrance นั้น จะกระทบกับ สีเทา-ดำ หรือ Tone & Shade ของภาพน้อยมาก กล่าวได้ว่าไม่มีผลต่อโทนภาพ

ยกตัวอย่าง ในภาพปกติซึ่งสีต่างๆ จะมี Tone-Shade เป็นตัวกำหนดความสดใสของสีอยู่

13063075_1052355364825566_671013431669117440_o
ต้นฉบับ

 

เปรียบเทียบระหว่างภาพข้างบนกับภาพข้างล่าง เมื่อเราเร่ง Saturation ไปจนเต็มที่ ก็จะพบว่า ค่าสีเทาในกราฟนั้น ลดลงไปด้วย โดยแต่ละสี จะหลุดออกจากค่าสีเทาดำ ไปทางด้านสว่างมากขึ้น สดใสขึ้น แต่….
ไม่มีรายละเอียด เนื่องจากขาด Tone/Shade ที่เป็นตัวสร้างน้ำหนักของสี และนั่นทำให้สีออกมาสดใส แต่ไร้มิติขาดรายละเอียด เมื่อเร่ง  Saturation ขึ้นไปมากๆ

13055793_1052355781492191_477499731386046291_o
เร่ง Saturation +100 = Shade ลดลง

และในทางตรงกันข้าม หากเราลด Saturation จนเป็นศูนย์ ก็จะพบว่า สีต่างๆในภาพได้ถูกสีเทาดำ ถมจนหมดไม่เหลือสีสันต่างๆให้เห็นอีกต่อไป
อาจกล่าวได้ว่า การปรับเพิ่ม หรือลด Saturation ก็คือการปรับแต่งสี ที่กระทบต่อ Tone/Shade ในสีของภาพนั่นเอง

10469539_1052357954825307_3579639258409682008_o
ลด Saturation – 100 =  +Shade

ส่วนการปรับ Vibrance นั้น จะไม่สัมพันธ์โดยตรงกับ Tone และ Shade แต่จะเน้นปรับความสดอิ่ม ไปที่สีต่างๆโดยตรง เช่นรูปต่อไปนี้ แม้เราจะปรับ Vibrance ขึ้นไปจนสุด+100 แต่จะเห็นว่ากราฟสีเทา-ดำไม่ขยับ
เมื่อเทียบกับภาพต้นฉบับ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ สีต่างๆ แยกเด่นชัดออกจากสีเทาดำมากขึ้นเทานั้น ซึ่งนั่นทำให้รายละเอียดของภาพไม่ถูกลดทอนลง เนื่องจาก Tone / Shade ยังทำงานสร้างน้ำหนักให้สีต่างๆอยู่ใกล้เคียงต้นฉบับ

v100

 

และต่อให้เราลด Vibrance ลงจนหมด ก็ยังเห็นสีสันต่างๆได้ โดยที่น้ำหนักค่าเทากลางไม่เปลี่ยนแปลงไป

13041353_1052358361491933_8497442604441921123_o

ทริ๊คง่ายๆ ของการแต่งภาพให้มีสีที่สดใส แต่ยังมีมิติมีนำหนักมีโทนก็คือ
เราจะไม่เพิ่ม Saturation คู่กับ Vibrance พร้อมๆกัน

_DSC2503-1

อย่างที่บอกว่า การเพิ่ม Saturation ก็คือการลดทอนน้ำหนักของ Tone / Shade ซึ่งเท่ากับเป็นการลดรายละเอียดต่างๆของเนื้อภาพลงไปด้วย

13055687_1052360258158410_782544313126115219_o
Saturation +100, Vibrance +100 = no Tone and Shade ได้ภาพสีสดแต่ขาดลายละเอียดไปมาก

หากต้องการสีที่สด และมีรายละเอียด ก็อย่าดันไปทางบวก ทั้งสองตัว

13029677_1052360798158356_2348089860633437069_o
แทนที่จะเร่ง Saturation หากเราลดมันลงล่ะ?

หลักการเหล่านี้ ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะผู้ที่ชอบแต่งภาพในโปรแกรมต่างๆ เท่านั้น แต่มันยังมีประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับคนที่นิยมจ้องหลังกบ “จบหลังกล้อง” อีกด้วย เพราะ

กล้อง Digital สมัยนี้ ล้วนมีฟังค์ชั่น เครื่องมือ ให้เราปรับแต่งไฟล์ประมวลผล Jpeg ในตัวกล้องโดยตรง
บางท่านไม่เข้าใจ….. คิดว่าการเร่ง  Saturate ในกล้อง จะทำให้ได้ภาพสีสันสดใส (ซึ่งก็จริง)
แต่เมื่อเอาภาพมาขยายดู ก็จะพบว่าภาพนั้น ไม่มีรายละเอียด
ทีนี้ก็ตามไปเร่ง Clarity เพิ่มกันอีก …. ก็เลยได้ภาพที่หลอกตา คอนทราสท์จัด  และมีรายละเอียดความคมชัดแบบปลอมๆ มาแทน

แต่หากเข้าใจได้เมื่อไรว่า “มิติสีที่แท้จริง มาจาก Tone และ Shade ซึ่งเป็นตัวสร้างความลึก ตื้น มืด สว่าง ให้แก่เนื้อสีของวัตถุต่างๆ ในภาพ เราก็คงจะไม่ “ฆ่า” Tone และ Shade ทิ้ง ด้วยการเพิ่ม Saturation ลงไปในภาพ …ในทางกลับกัน ควรลดสักเล็กน้อยเสียด้วยซ้ำ”
และหากกล้องตัวใดสามารถเพิ่ม Vibrance ได้ เราก็ควรเลือกเพิ่มตัวนี้ขึ้นมาแทน (หากต้องการสีที่สด และมีมิติ)

พิษณุ โถยอด
26 เมษายน 2559

 

 

Read more "Vibrance และ Saturation"

Sigma 150-600 f5-6.3 DG OS HSM / Contemporary

ผมไม่ใช่ “ตัวสำรอง” ในโลกของ Super Telephoto Zoom
DSCF0184

Sigma 150-600 f5-6.3 DG OS HSM / C (CONTEMPORARY)
ชื่อชั้นอาจเป็นรองรุ่น S (Sport) ซึ่งเป็นพี่เบิ้มสายพันธุ์โหด ถึก ของค่ายเดียวกัน
แต่ความคม ความสะดวกในการใช้งาน น้ำหนักจับถือ และราคาค่าตัวที่ย่อมเยาว์นั้น ทำให้เลนส์ตัวนี้คือ
“ตัวจริง” ในโลกของเลนส์ Super Telephoto Zoom
ซึ่งตอบสนองการทำงานร่วมกับกล้องเซนเซอร์ใหญ่ ระดับ 50 MP  ได้อย่างลงตัว
และไร้คู่ต่อกรในด้าน “ความคมชัด ตลอดทุกช่วงซูม”
*หมายเหตุ การทดสอบในครั้งนี้ หากเป็นการถ่ายภาพนิ่ง จะถือถ่ายด้วยมือเปล่าโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อทดสอบระบบกันสั่น และการจับถือ การควบคุมในสถานะการณ์ที่ยากที่สุด และไม่ใช้แม้แต่ monopod เพื่อพยุงน้ำหนัก
ยกเว้นการทดสอบภ่าย VDO ซึ่งจำเป็นต้องใช้ขาตั้งเป็นปรกติDSCF0157

เปรียบเทียบกับขนาดของ Body A7Rii ติด Vertical grip และอแดปเตอร์ Metabone
โดยใส่ hood และซูมไกลสุดที่ 600mm.

DSCF0144ขนาดเมื่อไม่ใส่ hood และซูมไว้ที่ 150mm. ขนาดไม่ใหญ่โตมากมาย เอาใส่กระเป๋ากล้อง ท่องโลกได้สบายๆ
เพราะหากเทียบกับ เลนส์รุ่น Sport ที่ออกแบบให้กันฝุ่น กันน้ำ ใช้บอดีเป็นโลหะทั้งตัวแล้ว เลนส์รุ่น C ที่ใช้พลาสติกพิเศษนั้นมีขนาดตัวและน้ำหนักตัวเลนส์ที่เบากว่าพอสมควร

Sigma-150-600mm-Sports-and-Contemporary-Comparison

img03

Engineering plastics[1] are a group of plastic materials that have better mechanical and/or thermal properties than the more widely used commodity plastics (such as polystyrenePVCpolypropylene and polyethylene).

Being more expensive, engineering plastics are produced in lower quantities and tend to be used for smaller objects or low-volume applications (such as mechanical parts), rather than for bulk and high-volume ends (like containers and packaging).

The term usually refers to thermoplastic materials rather than thermosetting ones. Examples of engineering plastics include acrylonitrile butadiene styrene (ABS), used for car bumpersdashboard trim and Lego bricks; polycarbonates, used in motorcycle helmets; and polyamides (nylons), used for skis and ski boots.

Engineering plastics have gradually replaced traditional engineering materials such as wood or metal in many applications. Besides equalling or surpassing them in weight/strength and other properties, engineering plastics are much easier to manufacture, especially in complicated shapes.

สรุปง่ายๆ ว่า Engineering Plastics นั้นไม่ใช่พลาสติกทั่วไปอย่างที่เราคุ้นเคย หรือเข้าใจว่ามันบอบบาง ราคาถูกๆ แต่มันเป็นพลาสติกที่แข็งแรง มีราคาแพง และทนทานกว่าทั่วๆไป ไม่บิดงอตามอุณหภูมิ ทนร้อนทนหนาวได้สบายๆ

_DSC6106
600mm. iso160, f6.3, 1/500sec.

ทดสอบที่ระยะ 600mm. f6.3 ให้ความคมชัดทั้งภาพ ซึ่งผมกล้าท้าเลนส์ Telephoto ทั้ง Zoom และ Fix ในระยะ 150 mm. – 600 mm. ทุกตัวในโลกไม่ว่าจะเป็น f ใด ราคาใด ให้มาถ่ายทดสอบ โดยถือถ่ายด้วยมือโดยไม่ใช้ขาตั้งตั้งกล้อง แล้วทดลองแบบใช้งานจริงๆ สถานะการณ์จริง

Screen Shot 2016-04-24 at 10.19.24 PMขยายภาพมุมขวาบน ขึ้นมาดูในอัตราส่วน 1:1

 

รูปที่ถ่ายมาจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาทุกรูป ถ่ายขณะที่ยืนอยู่ท้ายเรือด่วนเจ้าพระยา ที่แล่นผ่านสถานที่ต่างๆ ผมใช้ iso ต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถถ่ายภาพได้โดยไม่มีอาการสั่นไหว เบลอจากการเคลื่อนที่ และใช้รูรับแสงกว้างที่สุดของแต่ละช่วงซูม เช่นที่ระยะ 150mm. ก็ใช้ f.5 ที่ระยะ 600mm. ก็ใช้ f.6.3 เป็นต้น
ไม่มีการแอบโกง โดยใช้ f8 หรือใช้ขาตั้งเลยแม้แต่รูปเดียว

สีหลังกล้อง Daylight + M1.5, B1 ชดเชยแสง -0.7 -1.3 stop แล้วแต่กรณี

ใช้ระบบโฟกัส Auto continues Wide Zone ให้กล้องเลือกจุดโฟกัสเอง

_DSC6311
600mm. iso320, f6.3, 1/500sec.

Color contrast นับว่าแจ่ม แม้จะอยู่ที่ระยะซูมแคบสุด 600mm.

 

Screen Shot 2016-04-24 at 10.26.47 PMไม่มีอาการขอบม่วง ขอบเขียวปรากฏบนพื้นที่วัตถุมันวาว

_DSC6308
150mm. iso100, f5, 1/200sec.

f5 ถ่ายวัตถุที่มีรายละเอียดยิบย่อย ระนาบเฉียงไกลใกล้ ถ้าดูกลางภาพมันต้องชัดแน่นอน แต่ถ้าอยากลองของ ให้พิจารณาขอบภาพ อย่าไปดูที่บริเวณกลางภาพครับ ว่ามีฟุ้งแสงบ้างหรือไม่?

Screen Shot 2016-04-24 at 10.23.05 PM
ขอบฝั่งซ้าย ขยาย 1:1
Screen Shot 2016-04-24 at 10.22.30 PM
ขอบภาพฝั่งขวา ขยาย 1:1
Screen Shot 2016-04-24 at 10.22.44 PM
กลางภาพ 1:1
_DSC6278
150mm. iso100, f5, 1/640sec.
_DSC6088
468mm. iso 200, 1/500sec., f6.3

คำถาม : เราคาดหวังได้แค่ไหน กับเลนส์ซูมช่วง 150-600mm. f5-6.3 ที่มีราคาเพียง 3x,xxx บาท ?
ตอบ : คาดหวังได้สูงสุด ถ้าไม่บ้าแบรนด์จนเกินไป และเมื่อไรก็ตามที่เราสามารถดึงเอาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เมื่อนั้น ราคาถูกหรือแพงก็ไม่ใช่ปัญหา

_DSC6083
600mm. iso400, f6.3, 1/500sec.

ที่ระยะซูม 600mm. หันไปถ่ายภาพนี้แบบฉับพลัน ในสถานการณ์ย้อนแสง คอนทราสท์สูง เลนส์ทำงานร่วมกับกล้อง และอแดปเตอร์แปลงเมาท์ได้รวดเร็วดีมาก โฟกัสเข้าเป้าไม่วืดวาดให้เสียอารมณ์
Bokeh กลมสวย ละลาย แต่ไม่ทิ้งสีให้ซีดจาง

_DSC6296
238mm. iso200, f5.6 1/250sec. (2.5M. close focus)

ถ่ายพระเณร ที่นั่งในเรือด่วนเจ้าพระยา ระยะโฟกัสใกล้สุด 2.5 เมตร ถ้าใครชอบถ่ายคน ด้วยเลนส์ 600mm. ก็น่าสนนะครับ คอนทราสท์ดี สีมาเต็ม เกรงใจนางแบบ นายแบบที่โดนเลนส์ใหญ่ๆเล็งเข้าไปที่หน้าหน่อยก็แล้วกัน

_DSC5969
ผมได้เลนส์มาทดสอบตั้งแต่ช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมา แต่ก็อย่างที่รู้ครับว่าบ้านเรามันร้อนตับแลบ ปรอททะลุ 44 C.
อย่าได้หวังเลยนะครับว่าผมจะแบกสังขารไปถ่ายภาพนกกลางแจ้ง ผมว่านกเองก็จะเฉาตายกันหมดอยู่แล้ว วันนี้ เอานกปลอมย้อมใจกันไปก่อนก็แล้วกันนะครับ

………………………………………………..ยังไม่จบ

 

 

Read more "Sigma 150-600 f5-6.3 DG OS HSM / Contemporary"

SIGMA 120-300mm F2.8 DG OS HSM ‘Sport’ Lens…Tested on SONY A7R II (42.4MP CMOS Sensor)

Sigma-120-300mm-f2.8-DG-OS-HSM

The Sigma 120-300 F2.8 DG HSM OS is the first lens introduced into the Sports category for Sigma’s Global Vision. Designed for full frame cameras but can work with APS-C sized sensors as well, the 120-300 F2.8 has a large aperture and versatile focal length, ideal for a wide range of photography. Though placed in the Sports category,
the 120-300 F2.8 is also great for nature, automotive, wildlife, and everything in between. Equipped with state of the art technology such as a Hyper Sonic Motor (HSM), an Optical Stabilizer (OS) and Inner Focusing and Zooming, the 120-300 F2.8 ensures sharp and beautiful images. The HSM allows for a quiet, fast, and accurate autofocusing while the OS compensates for camera shake while shooting by hand. Two FLD glass elements, which have performance equal to fluorite, are incorporated with one SLD element to reduce color aberration at the highest degree. The Sports category offers not only a higher level of customization through the Sigma USB dock*, but also has a dust and splash proof design.

_DSC1026 2-1
A7R II / f2.8, 1/200Sec. / Focal Length 182mm.

ความโดดเด่นของเลนส์ Sigma 120-300 F2.8 DG HSM OS “Sport” คือเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ซูมที่มีรูรับแสงกว้างคงที่ ที่ f2.8 ซึ่งนับเป็นเลนส์ไวแสงสูง ที่มีระยะซูมยืดหยุ่น ครอบคลุมการใช้งานได้หลากหลายตัวเดียวในตลาดเลนส์ยุคปัจจุบัน

สายพันธุ์ “Sport” ของ Sigma หมายถึงเลนส์ที่ออกแบบมาให้มีความแข็งแรง บึกบึน กันละอองและหยดน้ำใหญ่ๆเช่นเม็ดฝน หรือการสาดน้ำใส่เลนส์ รวมถึงกันฝุ่นเข้าภายในชุดชิ้นเลนส์ได้ในสถานการณ์ที่เลวร้าย เช่นการถ่ายภาพกีฬาในเวลาที่ฝนตกพรำ การนั่งบันทึกภาพในสนามแข่งรถแรลลี่ ข้างถนนฝุ่นทรายที่เต็มไปด้วยฝุ่นเม็ดเล็กๆ ล่องลอยอยู่ในอากาศ การเฝ้ารอถ่ายภาพสัตว์ป่าในภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบสุดขั้วโดยมีแสงสว่างโดยรอบไม่ต้องมากมายนัก แต่เลนส์ก็ยังตอบสนองการทำงานได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของการโฟกัสที่แม่น, เร็ว, เงียบ และระบบกันสั่นที่ช่วยให้การถ่ายภาพในที่ซึ่งมีแสงน้อย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ผลงานระดับมืออาชีพอีกต่อไป

 

*ตัวอย่างวิดีโอการทดสอบเลนส์ใน Sport Series อีกตัวหนึ่ง คือ SIGMA 150-600mm 5-6.3 Sports ซึ่งก็โหดในมาตรฐานเดียวกัน

* แต่ไอ้เจ้าความ ” ถึก “นี้ ก็ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักตัวเลนส์ที่หนักขึ้นตามวัสดุชั้นเลิศที่ใช้เป็นโครงสร้างกระบอกเลนส์ กลไกป้องกันภาพสั่นไหว และขนาดชิ้นเลนส์ที่ใช้ประกอบจนได้เลนส์ไวแสงพิเศษถึง f2.8 ทั้งๆ ที่เป็นเทเลซูม
แต่หากว่าคุณเป็นมืออาชีพในสาย  Actions, Sport, WildLifeและ Landscape แบบสุดขั้ว ผู้ต้องการทำงานคุณภาพดีที่สุด คุณจะกลัวอะไร กับน้ำหนักของเลนส์ ?  … ซึ่งก็ไม่ได้หนักกว่าเลนส์ Fix Telephoto f2.8 ค่ายอื่นเลย
s_120_300_28_novosti

คราวนี้ลองมาดูภาพจากการทดสอบถ่ายภาพการฝึกม้าในสนามฝึกจริง
ซึ่งม้าเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลา ในช่วงเวลาเช้าตรู่มีหมอกลงจัด และเวลาใกล้พระอาทิตย์ลับฟ้า โดยใช้กล้อง Sony A7R ii ใส่อแดปเตอร์ Metabones MK IV EF-E Mount เป็นกล้องทดสอบกันเลยดีกว่านะครับ
มาดูกันว่า ความคมแบบขอบชนขอบ ของเลนส์ตัวนี้ บนเซนเซอร์ CMOS ขนาด 42.4MP ของโซนี่ นั้น ผลจะออกมาอย่างไร?

หมายเหตุ
รูปทุกใบที่ใช้ประกอบการรีวิวเลนส์ ไม่ได้มีการแอบเพิ่มความคมชัดลงไปในภาพ ไม่ได้ทำ Unsharp Mask แล้ว rezise หรือเร่งแคลิตี้ของภาพเลย เพียงแต่อัพโหลดไฟล์  Jpeg ขึ้น Blog โดยตรง และใช้โปรแกรม  LightRoom CC ใส่ลายน้ำลงในภาพบางภาพเท่านั้น

ภาพม้าข้างล่างนี้ ถ่ายมาด้วยการถือกล้องพร้อมเลนส์ด้วยมือเปล่า เป็นช่วงแรกๆที่ยังไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง หรือ MONOPOD ถ่ายภาพ บันทึกในช่วงเช้า ซึ่งพระอาทิตย์เพิ่งขึ้นพ้นขอบฟ้าอวลไปด้วยไอหมอก แสงน้อย เพื่อทดสอบระบบป้องกันการสั่นไหวของเลนส์ ว่าทำงานได้จริงหรือไม่
_DSC1425-1
f2.8, 1/320Sec. at 206mm.

ว่ากันว่า รูปหนึ่งใบมีความหมายมากกว่าคำพูดนับพันคำ ลองมาดูภาพชุดนี้ ที่ถ่ายช่วงก่อนเจ็ดโมงเช้า และอีกชุดที่ถ่ายหลังห้าโมงเย็นกันดีกว่า ว่าระบบโฟกัส ความคม ระบบกันสั่น และความไวแสงของเลนส์ ที่ f2.8 นั้นทำอะไรได้บ้าง

_DSC1462-1
f3.2, 1/320Sec. at 300mm.
_DSC1468-1
f3.2, 1/320 at 300mm.
_DSC1535-1
เพิ่มทางยาวโฟกัสเลนส์เป็น 240-600mm. f5.6 ด้วย Sigma TC-2001 (Teleconverter 2X) f5.6, 1/500Sec. at 600mm.

sigma-tc-1401-2001-teleconverters

Teleconverter ของ SIGMA รุ่นใหม่ล่าสุด  TC-1401 และ TC-2001 คูณ 1.4เท่า และคูณ 2 เท่า ตามลำดับ
นับเป็น TC คุณภาพดี  ที่สามารถทำงานผสานกับเลนส์ของ SIGMA ได้อย่างยอดเยี่ยม คม ไว และแข็งแรงไม่แพ้ใคร

กลับมาดูที่ภาพการทดสอบ การโฟกัสติดตามวัตถุเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องโดยตามจับภาพม้าที่วิ่งเข้าหากล้องอย่างรวดเร็ว และถ่ายต่อเนื่องเพื่อดูว่า จะหลุดโฟกัสบ้างหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้ก็น่าพอใจเอามากๆ

_DSC1409-1
f2.8, 1/500Sec. at 300mm.
_DSC1399-1
f2.8, 1/400Sec. at 300mm.

 

ด้านความคมชัดของเลนส์นั้น ผมไม่ห่วงเลยแม้แต่นิดเดียว และในการทดสอบร่วมกับกล้อง SONY A7Rii ต่อ METABONES MK IV EF-E Mount ในครั้งนี้ ผมไม่ได้ทำการปรับจูนโฟกัส Front-Back แบบละเอียดแม้แต่น้อย เรียกได้ว่า รับเลนส์จากบริษัทมาอย่างไร ก็ใช้แบบนั้นเลย

_DSC1582-1
ตามแสง โฟกัสที่ตา f2.8, 1/320Sec. at 269mm.
_DSC2810-1
ย้อนแสงและเพิ่มทางยาวโฟกัสด้วยเทเลคอนเวิร์ทเตอร์ของ Sigma / f5.6, 1/500Sec. at 600mm. (With Teleconverter 2x Sigma TC2001)

ทดลองถ่ายต่อเนื่อง วัตถุเคลื่อนที่เร็วเข้าหากล้อง แบบมีวัตถุบังเป็นฉากหน้า เลียนแบบสถานการณ์จริงเมื่อถ่ายภาพกีฬา และถ่ายสัตว์ป่าในพื้นที่บังไพร
ผลที่ได้คือ “สนุก”

_DSC1948-1
f2.8, 1/320 at 300mm.
_DSC1952-1
f2.8, 1/320Sec. at 300mm.
_DSC1953-1
AF-C Tracking Focus วัตถุเคลื่อนที่เข้าหากล้อง โดยมีฉากหน้าบังหน้าเลนส์เกิน 1/2 ของเฟรม

อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรกว่า เลนส์ในสายพันธุ์ Sport ของ SIGMA นี้ เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบจริงจัง ถึก ทน แกร่ง คมชัด และเร็วมาก ดังนั้นขนาดและน้ำหนักของเลนส์ในสายพันธุ์นี้ทุกตัว จึง “ไม่ธรรมดา” ด้วยน้ำหนักเลนส์ 3.39Kg (119.6oz) ใช้เลนส์ FLD 2 ชิ้น กับ SLD 1 ชิ้น รวมเลนส์ทั้งหมด 23ชิ้น แบ่งเป็น 18 กลุ่ม

Sigma-120-300mm-f2.8-EX-DG-OS-HSM-Lens-Construction

กับมอเตอร์ขับเคลื่อนโฟกัสขนาดใหญ่ ที่ไวและเงียบอยู่ภายในกระบอกเลนส์ที่แข็งแรง  งานเคลือบผิวอย่างดีแบบเลนส์ตัวท้อปของค่าย สมราคาค่าตัว และความคมที่ให้มามากกว่าเลนส์อื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน ผมบอกได้เลยว่า หากพิจารณากันด้วยเหตุและผล คงไม่มีเลนส์ซูม คมๆ ช่วง 120-300mm ซึ่งให้รูรับแสงกว้างสุดมากถึง f2.8 ตัวไหนจะเบาและเล็กไปกว่านี้หรอกครับ
B00AXZYUUI-02-gross

Lens hood ที่แข็งแรง และสวยงาม อาจไม่จำเป็นต้องหาฟิลเตอร์หน้ากว้า 105mm. มาใช้ให้เสียเงินเพิ่ม

in Action

_DSC2734-1

_DSC1875-1
เมื่อใช้โฟกัสติดตามใบหน้า

“คม ไว เงียบ”
ลองดู ผลทดสอบจากคนกลางอย่าง DxOMARK ซึ่งทดสอบ และให้คะแนนเลนส์ยุคใหม่เกือบทุกตัวในโลกว่าเขาพูดว่าอย่างไรบ้าง แต่จะเชื่อ หรือไม่เชื่อนั้น ก็เป็นเรื่องของผู้บริโภคอย่างเรานะครับ แต่ผมก็เห็นคนรีวิวเลนส์ทุกค่ายเอาไปใช้อ้างอิงกันทุกที

Screen Shot 2016-02-10 at 10.47.20 PM

ผมชอบตรงที่เขาเขียนว่า Best at 300mm & f2.8 เพราะนั่นแปลว่า ที่ระยะซูมสุด รูรับแสงกว้างที่สุดนั้น มันคม และใช้งานได้จริงๆ

Screen Shot 2016-02-23 at 12.06.09 PM

การใช้งานจริงร่วมกับ Sony A7R ii + Metabones IV EF-E Mount  + SIGMA TC2001(TC2X) จัดให้ดูแบบสุดๆ เทียบกับหน้าผู้ทดสอบที่มีน้ำหนักตัว 115Kg.

_MG_0515-1

การใช้งานร่วมกับกล้อง A7Rii และAdapter ของ Metabones MK IV นั้น ทำงานได้เร็วในโหมดโฟกัสภาพเกือบทุกแบบ อาจมีบางแบบที่ใช้ไม่ได้ แต่พูดง่ายๆ คือใช้งานได้เท่ากับการใช้เลนส์ของ Canon ทุกประการ จะมีเว้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ในบางโหมด เช่นโฟกัสแบบ Zone ซึ่งเลนส์แคนน่อนก็ใช้ไม่ได้ (*ความเห็นส่วนตัวคือ ต้องรอ Metabones พัฒนาเฟิร์มแวร์ให้ใช้งานได้ก่อน) ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่เลนส์ แต่เป็นเรื่องของอแดปเตอร์แปลงเมาท์ และเฟิร์มแวร์ของกล้องที่ไม่อนุญาตให้เลนส์นอกค่าย
แต่เท่าที่ลองในทุกโหมดที่สามารถใช้งานได้นั้น ก็นับว่าเพียงพอ เช่นจับภาพใบหน้า โฟกัสที่ตา กลุ่มโฟกัสแบบกว้าง แบบเลือกจุด แบบติดตามนั้นทำงานได้ทั้งหมด และเร็วมาก

ที่สภาพแสงน้อย ต้องดึงศักยภาพของเลนส์ออกมาใช้งานให้สุดติ่ง กระดิ่งแมว

_DSC3011

ผมเลือกที่จะถ่ายภาพในเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า ทั้งตอนเช้า และเย็น….
ผลที่ได้ อาจจะมี Motion Blur อยู่บ้าง เพราะไม่อยากเอาเปรียบใครในการทดสอบ ด้วยการใช้ iso สูงๆขั้นเทพของ A7Rii เพราะผู้ใช้งานกล้องรุ่นอื่นๆ ที่การจัดการน๊อยซ์ยังไม่ดีมากนั้น อาจจะงอนผมได้
และหมายความว่า เมื่อ Sigma จะขายเลนส์ไวแสง f2.8 ผมก็จะทดสอบเฉพาะตอนที่แสงน้อยเท่านั้น เปิด f2.8 ซูมกันสุด บนไอเอสโอไม่เกิน 400 เท่านั้นถึงจะเรียกว่า เจ๋งจริง
ถ้ามีแสงมากๆ เลนส์อะไรมันก็ทำงานได้ดี และคมเหมือนกันนั่นล่ะครับ

_DSC1216-1_DSC1225-1_DSC1261-1ความคม สี และอารมณ์ภาพแอคชั่นช่วง 18:00 น. ซึ่งมีแสงเหลือไม่มากนั้นถือว่าดีเยี่ยม เมื่อใช้งานคู่กับกล้อง 42.4 MP. อย่าง A7R ii

_DSC2683-1
ระยะโฟกัสใกล้สุด 120mm.ที่ 150cm. / 300mm. ที่ 250cm.

ไม่ว่าจะเหลือแสงน้อยเท่าใด แต่ระบบโฟกัสติดตามวัตถุ หรือใบหน้าก็ยังทำงานได้ดี ทำงานสนุก หวังผลได้ทุกครั้งที่กดชัตเตอร์ (รูปทั้งหมดใช้ iso ต่ำ ไม่ได้ตั้ง auto iso)

_DSC2952-1_DSC2953-1_DSC2954-1

Wild Life Photography
การใช้งานร่วมกับ Teleconverter Sigma TC2001 ทำให้ได้ระยะทางยาวโฟกัสเลนส์ เทียบเท่ากับเลนส์เทเลซูม 240-600mm. โดยมีรูรับแสง f5.6 ตลอดช่วง ทำให้มุมรับภาพแคบลง และเหมาะแก่การถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่าซึ่งอยู่ไกลออกไปได้ง่ายขึ้น แต่ยังคงความคมไว้ใกล้เคียงกับการถ่ายโดยไม่ต่อเทเลคอนเวิร์ทเตอร์
_DSC4666-1_DSC4697-1

ข้อดีของเลนส์ระยะ 120-300 f2.8 ก็คือ การต่อพ่วง TC 2X ได้โดยไม่เสียแสงมากเกินไป คือเมื่อใช้ซูม 600mm. แล้วรูรับแสงยังกว้างถึง f5.6  และนั่นก็แปลว่า เราใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่ 120-600mm.
โดยถอด หรือใส่ TC2X เพิ่มแค่ตัวเดียว

_DSC4463-1
นกปรอดคอลาย ที่ไม่เคยอยู่เฉยๆให้ถ่ายภาพ เอาแต่กระโดดไปมาและบินโผเข้าจิกกินลูกไม้อย่างสนุกสนาน
_DSC3778-2
ในสถานการณ์แสงน้อย รำไรใต้เงาป่า กับระยะเลนส์ ซูมสุดที่ 600mm. f5.6 (ต่อพ่วงด้วย Sigma TC2001)
_DSC3955-1
ที่ระยะ 600mm. ความคมและความเปรียบต่างของแสง ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม หวังผลได้
_DSC4515-1
เลนส์สามารถถ่ายทอดสีสัน ความคมชัด และคอนทราสท์ออกมาได้อย่างดี

_DSC4489-1

_DSC4550-1.jpg
ภาพนี้ ถ่ายหลังจากพระอาทิตย์ตกหลังทิวเขาไปสักพักหนึ่งแล้ว ที่f5.6/ 600mm.
_DSC4228-1
ช่วงเช้าตรู่ใต่ร่มเงาของผืนป่าซึ่งมีแสงลอดลงมาเพียงเล็กน้อย ในสถานการณ์ที่ต้องยกกล้องขึ้นจับภาพแบบทันทีทันใดเมื่อเห็นหมูป่าวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถซึ่งกำลังวิ่งไปข้างหน้าแบบช้าๆ เลนส์ยังทำงานร่วมกับระบบโฟกัสของกล้องซึ่งต่อผ่าน ตัวแปลงเมาท์ Metabones MK IV และต่อพ่วง TC2001 ของSigma ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

อย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่า การทดสอบทั้งหมดนี้ เน้นถ่ายภาพการเคลื่อนไหวภายใต้สภาพแสงน้อย
หรือการต่อพ่วงกับเทเลคอนเวิร์ทเตอร์เพิ่มทางยาวโฟกัสเป็นสองเท่า บนกล้องฟูลเฟรมมิลเลอร์เลส ขนาดเซนเซอร์ 42.4ล้านพิกเซล ซึ่งจำเป็นต้องใช้เลนส์ที่มีกำลังแยกขยายสูงเพื่อให้ถาพชัดทั้งใบ จากขอบ ชน ขอบ
ซึ่ง Sigma 120-300 F2.8 DG HSM OS ตัวนี้ก็ทำได้อย่างดี น่าพอใจ

ผมเข้าใจว่า Sigma ต้องการนำเสนอเลนส์ซูมช่วงสั้น ไวแสงสูง ซึงคม และแข็งแรงที่สุดให้เป็นทางเลือกแก่ช่างภาพมืออาชีพชั้นนำ ซึ่งหากได้ทดลอง ก็คงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ในด้านออพติค และ โครงสร้างเลนส์นั้น Sigma 120-300 F2.8 DG HSM OS ไม่เป็นรองใครในช่วงระยะเลนส์เท่าๆกันนี้เลย

ผมได้แต่หวังว่า สักวันหนึ่ง  Sigma จะทำเลนส์รุ่นรอง ที่ใช้โครงสร้าง Optic ชุดนี้ แต่ประกอบลงบนโครงสร้างที่ใช้วัสดุเบาลง (แต่ยังคงแข็งแรง) และอาจลดการป้องกันน้ำหรือฝุ่นลงสักหน่อย ให้มีน้ำหนัก และรวมถึงราคา ให้เบาลง เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับช่างภาพบางกลุ่ม ที่จำเป็นต้องเดินทางถ่ายภาพแบบรอนแรม ท่องเที่ยว และแม้แต่ช่างภาพสายกีฬา หรือข่าวซึ่งต้องพาเลนส์ชุดนี้เคลื่อนที่ไปในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก

สรุป ข้อดี
1 ให้ความคมชัด และรายละเอียดในขั้นสุดยอด ความเพี้ยนของเส้นระนาบต่ำมาก
2 ถ่ายทอดสีสันได้ดีในทุกสภาพแสง ไม่พบความคลาดสีเมื่อมองผ่านจอปรกติ แม้จะขยาย 100%
3 ไวแสง  f2.8 ตลอดช่วงซูม
4 ระบบโฟกัสเงียบ และไว ไม่มีสะดุด
5 มีระบบกันสั่น ที่ใช้งานได้ดี
6 วัสดุแข็งแรงทนทาน การออกแบบสวยงาม
7 โครงสร้างกระบอกเลนส์กระชับมือ พื้นผิวไม่ลื่น มีคอลล่าที่ใหญ่ แข็งแรง
8 รับประกัน 3 ปีโดยผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย

สรุป ข้อเสีย
1 น้ำหนักของเลนส์ หนักถึง 3.39 กิโลกรัม
2 ขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับเลนส์ระยะเดียวกัน ที่มีรูรับแสงแคบกว่า

main01………………………………………………………………………………………………………………..

พิษณุ โถยอด

https://www.facebook.com/pisanu.thoyod

https://www.facebook.com/groups/591736497644282/

ขอขอบคุณ
ฟาร์มม้าสันลมจอย จังหวัดลำปาง สำหรับสถานที่สวยๆ

อุทยานแห่งชาติ กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และ บริษัท ชีร์โร่ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) 

 

Read more "SIGMA 120-300mm F2.8 DG OS HSM ‘Sport’ Lens…Tested on SONY A7R II (42.4MP CMOS Sensor)"

Sigma 20mm. F1.4DG ART : The Fastest-Wide Angle Lens that MUST

A00_3630-1
Filed test ใช้งานจริงในแนวสารคดี Life, Surrounding Portrait, Land scape ทั้งภาพนิ่ง และวิดีโอ

บริษัท ชีร์โร่ มาร์เก็ตติ้ง(ประเทศไทย) กรุณาให้ยืมเลนส์ Sigma 20mm. f1.4 ART ตัวนี้มาใช้งานจริงบนดอยสูงรวมกับ Nikon D810 ความละเอียด 36MP เต็ม
ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้มีการร้องขอให้รีวิวเลนส์ตัวนี้แต่ประการใด เพียงแต่คิดว่าเลนส์ตัวนี้ “ดี” “คุ้ม” และ “ผมชอบ” จึงทำรีวิวแบบง่ายๆ ให้ เป็นการตอบแทนครับ

feature04_main_img

สเป็คคร่าวๆ ของเลนส์ตัวนี้ คงหาข้อมูลกันได้ไม่ยาก ซึ่งปรกติก็แทบไม่มีใครสนใจตัวเลขพวกนี้เท่าไรนัก เพราะส่วนมากก็จะดูกันที่ตัวอย่างไฟล์ภาพ ราคา และ บริการหลังการขายเสียมากกว่า ก็เลนส์ทำมาหากินนี่ครับ จะเชื่อแค่ตัวเลขเฉยๆ ได้อย่างไร?

Screen Shot 2015-12-18 at 11.27.52 AM

Sigma_20_14-7
FLD glass is the highest level low dispersion glass available with extremely high light transmission. This optical glass has a performance equal to fluorite glass which has a low refractive index and low dispersion compared to current optical glass. It also benefits from high anomalous dispersion. Using these characteristics gives excellent correction for residual chromatic aberration (secondary spectrum) which cannot be corrected by ordinary optical glass and ensures high definition and high contrast images.

FLD glass offers superior optical performance, equal to fluorite, at an affordable price.  The density of FLD glass is lower than traditional optical glass, ensuring a lighter construction of large aperture lenses.

น้ำหนักเลนส์ 950 กรัม ให้ FLD (fluorite  low dispersion glass) มา 2 ชิ้น
SLD (Special low dispersion glass) 5 ชิ้น และ  ED 1 ชิ้น
ถือว่าเป็นเลนส์ที่ให้ของมาสมราคามากตัวหนึ่ง ทราบมาว่าราคาเปิดตัว ตั้งไว้ที่ 34,900 บาท กับชิ้นเลนส์พิเศษจำนวนมากแบบนี้ หากเป็นแบรนด์ดังของเยอรมัน ราคาก็คงขยับขึ้นไปที่ 1 แสนกลางๆ อย่างแน่นอน

A00_4313-1
ที่ F1.4 ความคมบริเวณจุดโฟกัสนั้นคมกริบ ส่วนฉากหลังก็เบลอไปตาม F ที่กว้างมาก Bokeh สวยเนียนตาดี ไม่เป็นไข่ปลาแบบเลนส์ค่าย เรียกว่าเป็น Creamy Bokeh Lenses ก็ว่าได้ ซึ่งโบเก้แบบนี้ ผมเคยเห็นก็แต่ในเลนส์ กลุ่ม FLD ของเยอรมันเท่านั้นเอง

A00_4928-1

A00_4339-1
Lens Vignette หรืออาการขอบภาพมืดนั้น ต้องมีแน่นอนตามแบบของเลนส์มุมกว้าง เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด แต่ก็แค่ใช้ LigthRoom เลือกเลนส์โปรไฟล์ กดเพียงคลิกเดียวก็หายไปแล้ว แต่สำหรับผม ผมว่ามันคือสเน่ห์ของเลนส์ที่ควรจะต้องเหลือเอาไว้บ้าง ถ้าไม่มีผมก็มักที่จะใส่มันลงไปในรูปตอนโปรเสส ส่วนเรื่องสีสันนั้นไม่ต้องห่วง ถ่ายทอดได้ดีจนบางทีก็ต้องลดความสดของสีลงไปบ้างเหมือนกัน

A00_4329-1

ผมเห็นช่างภาพหลายท่านกังวลเรื่อง Chromatic aberration หรือ “ขอบม่วง”
ขอยืนยันว่า ไม่มีปรากฏในไฟล์ที่ใช้เลนส์ตัวนี้ประกบกับ D810

A00_4347-1

 

การโฟกัส “เร็วมาก”
และถ้ามีคำถามว่า

ต้องจูนโฟกัสไหม?

ตอบ : Fine Tune หลังกล้องนิดหน่อย ครั้งเดียว ไม่หลุด ไม่ได้ใช้ Sigma USB DOCK เลย ซึ่งโดยปรกติ ผมก็ต้องจูนเลนส์ทุกตัวอยู่แล้ว แม้จะเป็นเลนส์ของค่ายที่ผมใช้ เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องจูนกันทุกตัวไป

A00_4832-1
โฟกัสต่อเนื่องที่กระดิ่งตั้งแต่ก่อนจะถูกตี จนถูกตีแล้ว เลนส์ยังแทร็คชั่นโฟกัสให้ชัดได้

A00_3856-1

โฟกัสได้ใกล้ และเร็วดี จิ้มลงไปตรงไหนก็ชัดตรงนั้น แบบนี้สิ สนุก

A00_4147-1

แล้ว Lens Distortions ล่ะ เยอะมั๊ย?
ขอตอบว่า : สำหรับเลนส์ทางยาวโฟกัส 20mm. นั้น นับว่าไม่มากมายอะไร ดูจากรูปด้านบน ก็คงอธิบายได้เป็นอย่างดี

A00_4684-1
เมื่อย้อนแสงตรงๆ มี Flare ให้เห็นพอสมควร (ผมว่าขนาด Hood สั้น ตื้นไปหน่อย)

ระยะโฟกัสใกล้สุด 27.6cm. (10.9″) คือไม่ถึงฟุต แบบนี้ถ่ายใกล้ๆ ได้พอประมาณ แต่ผมก็ยังอยากให้ถ่ายได้ใกล้กว่านี้อีกสัก 10cm. (ความต้องการส่วนตัว)

 

…………………………………………………………………………………………
แนวภาพกึ่งแลนด์สเค็ป…ผมยังไม่มีโอกาสได้ทดลองมากนัก เพราะเผอิญว่างานนี้ผมต้องถ่ายสารคดีเป็นไฟล์วิดีโอเป็นหลัก รวมถึงต้องเดินทางข้ามเขาไปยังที่ตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหลายต่อหลายแห่ง จึงยังไม่ได้พิถีพิถันตั้งขารอแสงเช้าเย็นเท่าไรนัก

จะมีก็เมื่อต้องถ่ายเทสท์ภาพก่อนทำไทม์แลปส์ไม่กี่ภาพเท่านั้น

A00_4734-1
Shutter Speed 1/400, f4, iso64
A00_4688-1-2
Shutter Speed 1/320, f4, iso 64

ลองที่ f4 ดูบ้าง ผมว่าไม่มีความจำเป็นต้องเปิดถึง f8 แต่อย่างใด ซึ่งข้อดีก็คือเราลด iso ลงมาได้อีกหลาย stop เลยนะครับ

A00_4060-1
ทดลองถ่ายโดยเปิดกว้างสุด ที่ f 1.4, iso 80 เพื่อทำไทม์แลปส์ โฟกัสแบบไฮเปอร์โฟคัล สามารถคลุมระยะชัดลึกได้สุดสายตา แต่ได้อารมณ์ฟุ้งๆของหมอกยามเช้าดีเหลือเกิน

เนื่องจากเป็นภาพแนวสารคดี ยังไงเสีย ผมก็ยังอยากที่จะเปิดกว้างสุดมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อสภาพแสงน้อยมากๆอย่างตอนเย็นที่พระอาทิตย์กำลังยอแสง แล้วต้องถ่ายกิจกรรมของผู้คนที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาแบบรูปชุดล่างนี้ DOF ของภาพ ให้อารมณ์มากจนพอใจ

A00_3994-1

A00_3962-1A00_3979-1

A00_4042-1

A00_4009-1

การโฟกัสในสภาพแสง High Contrast ก็โฟกัสได้เร็วดี ที่แสงจ้ามากๆไม่มีอาการขอบม่วง หรือเหลื่อมสีให้เห็นเลยแม้แต่น้อย

A00_5132-1

A00_5142-1

จุดเด่น
สรุปคร่าวๆ ว่า เลนส์นั้นคมหายห่วง ราคา 3.49 หมื่นบาทก็ถือว่าไม่ถูกไม่แพง สำหรับท่านที่ชอบเลนส์มุมกว้าง f 1.4 สำหรับ ฟูลเฟรม DSLR ความละเอียดสูงแล้ว นับว่าคุ้ม เพราะเท่าที่มองไปในตลาด ก็ถือว่ายังไม่มีคู่แข่งเลยแม้แต่รายเดียว
น้ำหนักเวลาใช้งานผมว่าก็เฉยๆนะ ถ้าเคยแบก 14-24f2.8 ได้ ตัวนี้ก็ไม่ต่างอะไรกัน
การมีเลนส์ตัวนี้ติดกองถ่ายไป ทำให้ผมลืมหยิบเอา 14-24 ออกมาใช้งานเลยก็ว่าได้ เพราะมันสนุกและได้อารมณ์กว่า เบี้ยวน้อยกว่า แม้จะเป็นเลนส์ระยะเดี่ยว แต่ DOF ที่ละลายฉากหลังนุ่มละมุนตานี้ กลับให้ภาพที่น่าสนใจยิ่งกว่าเลนส์ที่มีในกระเป๋าตัวอื่นๆ
Sigma-20mm-f1.4-DG-HSM-Art-lens-2-550x303
จุดด้อย
ผมว่ามีแค่เรื่องเดียว คือหน้าเลนส์ชิ้นแก้วกลม นูน ขนาดใหญ่  และใช้ Hood ติดตั้งตายตัวกับบอดี้เลนส์ ใส่ฟิลเตอร์ทั่วไปไม่ได้ ต้องซื้ออแดปเตอร์จากผู้ผลิตอิสระ ตรงนี้อาจทำให้ช่างภาพแนวแลนด์สเค็ปมีต้นทุนที่สูงขึ้นอยู่บ้าง แต่ก็เหมือนกับเลนส์ 14-24 f2.8 ของ Nikon นั่นล่ะ ถึงใส่ฟิลเตอร์ทั่วๆไปไม่ได้ แต่มันก็ยังเป็นเทพของเลนส์ซูมไวด์อยู่ดี
ซึ่งตอนนี้ ค่ายฟิลเตอร์อย่าง NiSi ก็ผลิตฟิลเตอร์อแดปเตอร์ออกมารองรับเลนส์ตัวนี้เรียบร้อยแล้วนะครับ ผู้ที่สนใจ ลองเซิร์จหาข้อมูลเอาได้ตามสะดวก

Filter company NiSi have come up with a clever solution for those people wanting to use the Sigma 20mm F1.4 ART lens for video on full-frame cameras such as the Sony a7S/a7SII/a7R/a7RII or Canon 5D mkIII. The problem with the Sigma 20mm f1.4 lens is that it has a non-removable petal hood, similar to both the Nikon 14-24mm f2.8 and Canon 11-24mm f4. This makes makes it impossible to use a screw in filter, such as a variable ND.
InsertPic_-561x403

NiSi have made a custom filter holder that has been designed specifically to work with the Sigma 20mm f1.4 lens. The filter holder attaches directly onto the petal hood of the lens and allows you mount up to three 150mmx150mm or 150mmx100mm Filters. The thickness of these filters can only be 2mm and not the normal 4mm. Thankfully NiSi have a range of filters available that will work with this holder.

InsertPic_2E87

http://www.newsshooter.com/2015/12/21/nisi-make-a-filter-solution-for-the-sigma-20mm-f1-4/

InsertPic_CD2B-600x440

และสำหรับผม เสียดายอยู่นิดเดียวตรงที่ Nikon นั้น ยังไม่มีกล้องเซนเซอร์ขนาด 50ล้านพิกเซลให้ใช้ ไม่เช่นนั้นคงได้สนุกกว่านี้แน่

sigma-20mm-art-nikon-lead

12615589_994782620582841_40585492247262590_o
จบแล้วครับ

พิษณุ โถยอด

Read more "Sigma 20mm. F1.4DG ART : The Fastest-Wide Angle Lens that MUST"

Intha, Son of the LAKE : INLE, Myanmar

Inle Lake is located in the heart of the Shan Plateau. It is a beautiful highland lake, 900 meters above sea level. The lake is 22km long and 10km across, and inhabited by many different ethnic nationals of the area. The Intha people are the Lake dwellers who are unique for their leg rowing. Leg rowed traditional boats are the main ceremonial attractions of the Inlay Lake.
อินเล (Inle Lake) เป็นชื่อของทะเลสาปน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่รายล้อมด้วยขุนเขา ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร ใกล้เมืองตองยี(Taunggyi) บนที่ราบสูงของรัฐฉาน ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมาร์
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณทะเลสาปนี้ เรียกตัวเองว่า ชาวอินทา (Intha / Inn-Thar)  ซึ่งเชื่อกันว่าอพยพ ย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองทวายทางตอนใต้ของพม่า แล้วตั้งรกรากใช้ชีวิตผูกพันกับผืนน้ำ สร้างวัฒนธรรมของตัวเองขึ้นมาจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

11807585_911167285611042_3895506800509520705_o
ชาวอินทา ในทะเลสาปอินเล ประเทศเมียนมาร์

 

Myanmar is the land of pagodas, a country of high-stilted houses. They simply call themselves the friendly, generous people and with places so In-thar, Son of the Lake or In-thu, Daughter of the serene that they cure the stresses of the world Lake. The astonishing thing about them is that just by being there.
10688100_754720091255763_5061232142429389796_o

One of the places is Inle although they live right in the midst of the Shan race Lake, a blue sea in the Southern Shan State 11 miles and its sub-races, the In-thar have a different long bordered with mountain ranges that in different language, that of the Dawai, which is a type of weather turn from blue to green to mauve and grey. Myanmar with a different pronunciation and several Inle at 2,918ft above sea level is wonderful in any different words. In fact the language is very much like season: deep blue skies and cooling breezes in the one spoken by a coastal race the Dawai that lives summer; spectacular sunrises and sunsets on the over 600 miles south on the Tanintharyi coastal foamy clouds of monsoon; and sparkling light and region. By word handed down for generations the deliciously chilly nights in the cold season.

DSC_2924-1

In-thar believe they originally lived there as Dawai people but that somehow a group travelled or were Nature has graced Inle with many beautiful things, taken to the mountainous land-locked region of the not least the people who actually live on the lake in Shan.

10854365_839050479489390_1102033354144918483_o
Naturally enough they would settle on and around the biggest body of water they could find, with deep nostalgia for the sea they had left. Inle Lake in ancient times was believed to be a hundred miles long, and thus the migrants simply called themselves ‘children’ of their new home. Indeed, they make Inle a home to their unique lifestyle that is seen nowhere else.

11050261_839035699490868_8194661977269415752_o

The ingenuity of the In-thar ensured that they not only survived but flourished in unfamiliar settings. Living right on the vast expense of water in high-stilted houses and keeping a boat or two for transport, they row standing up on one leg as they maneuvered their skiffs between clumps of reeds. Even the children are adept at this and in the morning one older boy would row a long skiff with younger children sitting docilely in single file, their faces fresh with Thanakha bark paste and their school uniforms neatly pressed.

11155079_860240784037026_4859417907547597058_o

11170304_861925777201860_209169842025968521_o

Farming right on the water is something the ingenious In-thar do well: 12193756_955425951185175_3869177009517834674_nthey collect floating bunches of weeds, tether them to the lake bottom with bamboo poles and expand their length by patiently piling on silt and weeds. Thus they make floating vegetable beds that need not be watered, and besides could be towed away after removing the bamboo spikes. This hydroponics system of cultivating was devised by the In-thar centuries before modern science learned of its values.

11043226_832599010134537_5492365521130268882_o

They also fish standing in their boats: A loosely woven bamboo basket with a flared opened bottom is pushed downwards with one foot into the water when the man spots fish, and a pole inserted through the top alarms the fish so the swim upwards. Then, a string is pulled to close the bottom of the net that lines the basket, effectively trapping the fish. The basket is then lifted up, the net loosened and the fish upturned into a covered pail. 11004565_835714106489694_337494315583645755_o
After he returns home the fisherman after choosing a fish or two for the family dinner would keep the rest in a cage he has constructed in the lake, so that they are still alive for market day. At Inle Lake, the market is a roving one that makes a complete circle of all its stops every five days, and thus it is called Five Day’s Market.
PST_4057-1.jpg
Both sellers and customers come by boat apart from the on-land village where it takes place. The Shan and Pa O races who prefer to live deeper inland and farm in the lush valleys arrive on foot over hill and mountain to sell their farm produce, home-spun wares and to buy what they need.

10989525_838659196195185_8995268332469398705_o

Villages such as Indain and Taung To, the first on the Northwest bank and the other on the Southwest are two of the five places enjoying market days. They are also the site of ancient pagoda complexes, believed built in the 12th century but by the architectural style, probably built in the 16th century or later. The mystery of these hundreds of small beautiful shrines of brick and marble is that no records exist of their origin.

10571930_753796171348155_4594092074275497841_o
Each square shrine is topped with the slender spire in the Shan style, and the pillars and openings decorated with stucco or marble figures exquisitely formed. There are birds and dragons, ogres and celestials, and the mythical bird people Kainara, who have stood guard for centuries over the Buddha images set inside the shrines. Some images have been destroyed a long time ago and some are damaged but all are beautifully made with peaceful faces and serene smiles.

1979116_755229924538113_8339326013917756927_o
The Phaung Daw Oo Pagoda is situated in Inlay Lake in Shan State. One of the most dazzling and magical places in Asia. It is a famous principal shrines in Myanmar and it houses five small Buddha images.

Buddha images are highly revered in this land of devout people. The Hpaung Daw Oo Pagoda of Inle has five small images that were discover in 1,359 in a cave, and by now so often covered with gold leaf that they have lost all original features. Every year in September, four of the five make a round of twenty villages of Inle region with great ceremony, carried on a golden barge crested with a Hintha bird on its prow and escorted by a hundred small boats. The fifth is never removed from its shrine after 1,974 when on their rounds, the barge suddenly capsized in clear weather and all five sank to the bottom. Only four were recovered and when the pilgrims came back crying their hearts out, they saw to their amazement that the fifth was already back on the shrine, dripping wet and with a weed clinging to the side. The spot where the barge overturned is now marked with a pillar with a Hintha bird at its top.

1781063_751518318242607_3535262499893368615_o10704222_751518911575881_4392072189170710442_o

During this festival, which lasts for about twenty days, each village greets the four images with fanfare and celebrates every moment of the one-night stopover. Small robes are offered to the images as well as others enshrined in the village monasteries, and the best robe in the world is spun from the stem of the lotus, a craft created and perfected by a child of the lake and found nowhere else in the world.

10704401_770690412992064_5363304629224403325_o

10495079_754670704594035_7229171566699109433_o
Enter a caption

10531385_838571499537288_8135722597424786221_o

Nearly one hundred years ago a weaver by the name of Daw Sar U (Madam Sparrow Egg) experimented with the filaments formed by the sap upon breaking apart the stems of freshly plucked lotus flowers. When she spun the filaments of five or six stems, it resulted in a strong enough thread that could be woven. It was painstaking work, however, needing many days of monotonous work only to gather enough skeins. She presented a whole set of robes to a highly revered Abbot of her Daung Taung Monastery, who gave her the name Daw Kyar U (Madam Lotus Egg) in recognition of her efforts. Textile specialists all over the world wonder at this rarest of fabrics, handwork of an In-thu.

1501104_751518534909252_5954407191802399243_o

The Children of Inle Lake are also famous for many crafts: exquisite silver jewelry and utensils, elegant lacquer ware, lustrous glazed pottery and hand-woven cottons and silks of excellent quality. Even their blacksmiths are famous country wide for the tools they fashion with ancient methods but so fine that goldsmiths use them instead of imported steel.

10712575_760421804018925_683731221864538457_o

No one knows exactly where they came from, or why, but their unique way of life and their creative talents make them one of the many jewels in the crown of the country.

10608698_754651554595950_7785028074443711207_o

10694391_754681351259637_6575521935509113751_o

Comments and Critics are Welcome
Thank you

Pisanu Thoyod

Read more "Intha, Son of the LAKE : INLE, Myanmar"

Sigma 24-35 F/2 DG HSM ART : Review

ผมได้รับเลนส์ Prime Zoom รุ่นใหม่ล่าสุดคือ Sigma 24-35mm. f2 DG HSM ART (for Nikon) มาจาก Shriro Marketing (Thailand) Co., Ltd.  เพื่อทดสอบการใช้งานจริง โดยใช้ร่วมกับกล้อง Nikon D810 ซึ่งเป็นกล้องที่มีเซนเซอร์รับภาพขนาด 36 ล้านพิกเซล ที่ต้องการเลนส์ซึ่งมีกำลังแยกขยาย และ Circle of image ครอบคลุมพื้นที่รับภาพให้คมชัดตั้งแต่กลางภาพ ถึงขอบภาพ โดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งคลาดสี หรือคลาดความคมชัด ซึ่งจะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากทั้งกล้องและเลนส์

sigma_24-35_f2_without_lens_hood-1
ดีไซน์ และวัสดุคุณภาพสูงถูกนำมาใช้ผลิตเลนส์อนุกรม ART ของ SIGMA ยุคใหม่ ซึ่งเลนส์ 24-35 f2 ART ตัวนี้มีขนาดเหมาะมือพอสมควร น้ำหนักจับถือหนักแน่นมันคง แบบพร้อมลุย โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางฟิลเตอร์หน้าเลนส์กว้างถึง 82mm.

จริงอยู่ว่า Sigma Lense อาจมีชื่อเสียงในทางลบบ้างในอดีต เช่น เป็นฝ้าในชิ้นเลนส์เมื่อใช้งานไปสักระยะ ผิวเคลือบกระบอกเลนส์ลอกร่อน หรือเกิดอาการ Shift focus โฟกัสไม่เข้าจุดในเลนส์บางตัว แต่นั่นก็คืออดีต ซึ่งได้รับการแก้ไขไปมากแล้ว

และผมกำลังพูดถึงเลนส์ ART Series ที่มีคุณลักษณะเด่นๆ มากมาย เช่นรูรับแสงกว้างสุดถึง 1.4-2 และพูดถึงกำลังแยกขยายของเลนส์ ที่ให้ความคมชัดเสมอกันทั้งระนาบโฟกัส แม้ว่าจะใช้ f stop กว้างที่สุดก็ยังคมจากขอบชนขอบ ซึ่งก็เพียงพอที่จะบอกว่า มันเป็นเลนส์ที่คุ้มค่า คุ้มราคา และปัจจุบัน เมื่อทราบว่า ชีร์โร่ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) เข้ามาเป็นตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการซ่อมแก้ไขคุณภาพเลนส์ในประเทศไทย แทนผู้แทนจำหน่ายเจ้าเดิมนั้น ก็ยิ่งสร้างความมั่นใจในการบริการหลังการขายมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะบริษัทชีร์โร่ มาร์เก็ตติ้ง ดูแลผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพมืออาชีพระดับ Top Brand ของโลก อยู่มากมายหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Hasselblad, Profoto, Zeiss, Lastolite, Blackrapid, Billingham รวมถึง Sigma ที่เพิ่งเข้ามาสู่การดูแลของบริษัท ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ถ่ายภาพเก่าแก่แห่งนี้ เช่นกัน

A00_2460-1
เปรียบเทียบขนาด : ซ้าย Nikon 14-24mm.f2.8NANO / Sigma 24-35mm. f2 ART / Nikon 24-70 f2.8 NANO

!!! This wouldn’t be an Art-series lens without a complex optical construction and a judicious mix of exotic glass types. It has an optical formula consisting of 18 elements in total, arranged in 13 groups, and among those, it has one FLD-type low-dispersion element with similar performance to fluorite, and seven SLD (ED-type) elements. Two of those SLD elements are aspheres to reduce lateral chromatic aberration, field curvature, and spherical aberration, while a third large-diameter asphere is used to minimize distortion.

A00_2462-1
ขนาดเลนส์ เมื่อใส่ Hood แล้ว

ผมคงไม่ลงรายละเอียดทางกายภาพของเลนส์ว่า ขนาด น้ำหนัก ชิ้นเลนส์ การออกแบบนั้นมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง เพราะข้อมูลเหล่านั้นเราสามารถหาอ่านกันได้ไม่ยาก แต่ที่ผมจะพูดก็คืออารมณ์ในการใช้งานจริงๆ ว่า มันเหมาะมือดีทีเดียว วงแหวนซูม และวงแหวนโฟกัสภาพ นุ่มนวล กระชับ และโฟกัสแม่นยำมาก

“Art of high-speed, constant-aperture, full-frame zoom”
นิยามใหม่ของซูมมุมกว้างไวแสงที่ให้รูปรับแสง f2 คงที่ตลอดช่วงซูม และคมกริบ

012
จับความเคลื่อนไหว ในบ่ายแก่วันฝนตกพรำๆ อุณหภูมิสีต่ำ และวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ตลอดเวลา ด้วย Sigma 24-35mm. ART ที่ 24mm. f2, 1/40SEC. ISO250

หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไม Sigma จึงผลิตเลนส์ตัวนี้ออกมาจำหน่ายเป็นทางเลือก โดยมีช่วงซูมเพียง 24-35mm. ในราคาสามหมื่นกลางๆ
ทำไมไม่ทำ 16-35 หรือ 24-70 แบบที่คนนิยมใช้ จะได้ครอบคลุมระยะทำงานได้มากขึ้น
ผมว่าคำตอบนั้น มันก็มีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว ว่า เรากำลังพูดถึงเลนส์ f.2 คงที่ ไม่ใช่ f.2.8 หรือ f.4 และในเมื่อมันเป็นเลนส์ไวแสง f.2 ที่ครอบคลุมระยะ  24mm. 28mm. และ 35mm. ในราคาที่ถูกกว่า เลนส์ค่ายเกือบ50% แล้ว มันก็เพียงพอต่อการใช้งานของช่างภาพที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก มีความคมชัดทั้งภาพรองรับเซนเซอร์ถึง 50ล้านพิกเซล (มากกว่าค่ายอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) โดยไวแสงพอสมควร และแม้จะเปิดรูรับแสงกว้างที่สุด ก็ยังให้ภาพที่คมชัดกว่าเลนส์ซูมมุมกว้างระยะเดียวกัน ราคาระดับเดียวกัน (หรืออาจเทียบกับเลนส์ที่แพงกว่า) ที่ผมเคยทดสอบมาทั้งหมด
ลองคิดดูครับว่า จะดีแค่ไหน หากเรามีเลนส์ 24, 28, และ 35 มม. รูรับแสงกว้าง คมชัดสูงอยู่ในมือเวลาที่เราทำงานแนวสารคดี งานอินทีเรีย งานแลนด์สเค็ป และแฟชั่น-พอร์ทเทรท ด้วยเลนส์ในมือเพียงตัวเดียว

ลองมาชมภาพที่ได้จากการเดินถ่ายภาพเชิงสารคดีข่าว กึ่งท่องเที่ยวกันก่อนครับ
ผมไปเดินเล่นถ่ายภาพที่ตรอกมะตูม และคลองบางหลวงในครั้งนี้ผมเอา Sigma 24-35 ART ไปตัวเดียว และเปิดรูรับแสงที่ F2 ทุกรูป จำกัด ISO กล้องไว้ที่ iso 250, WB Auto keep warm tone ตลอดทั้งวัน โดยไม่เปลี่ยนค่ากล้องเลย เพราะอยากทดสอบเลนส์ที่รูรับแสงกว้างสุด ทำงานในสภาพแสงน้อยที่สุด ลองโฟกัสอัตโนมัติของเลนส์เป็นหลักใหญ่ใจความในการทดสอบ ซึ่งเงื่อนไขที่ว่า เราจะเห็นประสิทธิภาพของเลนส์อย่างชัดเจน ว่าคม คุ้มค่าตัว และช่วงเลนส์ที่น้อยลงหรือไม่?

008
24mm. f2, 1/40SEC. ISO250
007
24mm. F2, 1/40SEC. ISO250
009
25mm. f2, 1/30SEC. ISO250
A00_1422-1
ถามว่า Sigma 24-35 f2 art เป็นยังไงเมื่อใช้งานจริงๆ? คมมั๊ย? ถ้าตอบว่า ดี คม ชอบ โดยเอาแต่รูปที่เซ็ทอัพเพื่อถ่ายมาให้ดู ผมว่ามันก็ไม่หนักแน่น อย่างรูปนี้ ยืนรอฝนหยุด ก็ยกขึ้นมากดชัตเตอร์ที่ f2 โฟกัสที่ใบหน้าผู้หญิงกางเกงแดง ภาพมันก็ออกมาแบบนี้โดยไม่ต้องเร่งสีเร่งวุ้น ซึ่งผมไม่เคยทำได้ตอนที่ใช้ 24-70N เลย
010
ใต้ถุนบ้านซึ่งมีเพียงแสงไฟจากหลอดฟลูออเรซเซนท์เป็นแสงหลัก โฟกัสที่ผลมะตูมผ่าซีกในมือ
011
จุดที่มืดที่สุด ถึงจุดที่สว่างที่สุด มีความเปรียบต่างแสงมากกว่า +-5EV โฟกัสง่าย ไม่มีหลุดแม้จะมีความเปรียบต่างของแสงสูง และวางกล้องในมุมต่ำขนานพื้นซึ่งก้มมองลำบาก ต้องพึ่งพาการทำงานระบบโฟกัสจากกล้องและเลนส์เพียงเท่านั้น

A00_1376-1

ตั้งแต่เช้าถึงเย็น กับเลนส์ตัวเดียวนี้
คำตอบของผมก็คือ “ใช้งานได้คล่องตัว ไวแสง โฟกัสเร็ว แม่น และสวย”
สำหรับงานแนวสารคดีภาพ งานสตรีทโฟโต้ สตรีทพอร์ทเทรท สถานที่ท่องเที่ยว ด้วยเลนส์ตัวเดียว ซึ่งคุ้มมาก

……………………………………………..
“Wide Angle Fashion Portrait”!!!!!!
แล้วงานแนว Portrait งาน Fashion หรืองาน Pre-Wedding Photography ล่ะ …..เหมาะหรือไม?…………………..

006.jpg
พบ Flare เมื่อย้อนแสงเต็มๆ (เลนส์ทุกตัวก็มี flare ทั้งนั้น)

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ช่างภาพส่วนใหญ่ มักนึกถึงเลนส์ระยะ 50-135mm. เป็นอันดับต้นๆ และผมเชื่อว่า ในกระเป๋ากล้องของช่างภาพส่วนใหญ่ จะต้องมีเลนส์ไวแสง f stop กว้างๆ เอาไว้ถ่ายสาวๆ กันอย่างน้อย คนละหนึ่งตัว ส่วนจะใช้ระยะอะไรนั้นก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนไป
ส่วนผม ชอบที่จะอยู่ใกล้นางแบบ หรือนายแบบที่จะถ่ายให้มากที่สุดในระยะไม่เกิน 1 เมตร
เพื่อสื่อสารทางอารมณ์ และเก็บรายละเอียดเช่น แววตา หรือ เครื่องประดับแบบใกล้ๆ ซึ่งก็เป็นสไตล์ที่ทำอยู่เป็นประจำ โดยไม่ค่อยใช้เลนส์ที่แคบกว่านี้ในการทำงาน

005
เมื่อทดลองเอาเลนส์ 24-35mm. f2 ตัวนี้ไปถ่าย Portrait ครึ่งตัวแบบ Close up ย้อนแสงช่วงบ่ายแก่ๆ แบบ Contre Jour หรือย้อนแสงเต็มๆให้เกิดแฟลร์ในภาพ โดยใช้ F Stop=2 เป็นหลัก เพราะอยากทดสอบอาการฟุ้งแสงแฟร์ เทียบกับความคมชัดในจุดโฟกัส และดูการเรนเดอร์ฉากหลังสร้างโบเก้ นอกระยะชัด

“ไม่ผิดหวัง”

001
f2 คมตรงจุดโฟกัส(ตา) และให้ภาพนอกระยะชัดนุ่มนวลดี โดยไม่เกิดอาการฟุ้งแสง
003
สังเกตุแสงแฟลร์ที่ใต้คางนางแบบ
A00_1784-1
แฟลร์ในภาพสี

อาการเบี้ยวของวัตถุ เมื่อถ่ายในระยะประชิดด้วยเลนส์มุมกว้าง 24-35 mm. ถือว่าอยู่ในวิสัยที่เราจะแก้ไขได้ ทั้งจากการวางตำแหน่งมุมกล้องขนานกับแบบ และในโปรแกรมแต่งภาพ ซึ่งทำได้เพียงกดคลิกเดียวที่ Lens profile

004
แฟลร์แบบนี้บางท่านอาจทำท่ารังเกียจ แต่สำหรับผมแล้ว ถือว่าธรรมดา คือถ้าคุณมีผู้ช่วย คอยถือแผ่นบังแสงหน้าเลนส์สักคน แฟลร์นี้ก็จะหายไป และแม้จะทำงานคนเดียวแบบผม ก็แค่ยกมือที่เหลือขึ้นบังมุมแสงห่างๆเลนส์ ก็หายเกลี้ยงแล้ว จะไปกลัวอะไรกับมัน

A00_2111-1

ระยะ 24-35mm. โดยปรกติ ก็จะเหมาะกับงานถ่ายแบบเต็มตัว หรือถ่ายภาพคู่อยู่แล้ว

A00_2191-1
dof ที่ f2 ละลายฉากหลังที่อยู่ถัดไปไม่กี่นิ้วได้สบายๆ
002
การโฟกัสแบบต่อเนื่องติดตามจุดโฟกัสเคลื่อนที่ (ตา) ผมไม่กังวลว่าจะหลุดโฟกัสเลย แม้แต่ช๊อตเดียว

สรุปผลการใช้งานจริง เมื่อถ่ายนางแบบ ย้อนแสง โดยช่างภาพทำงานคนเดียวไม่มีผู้ช่วย คือ
การออกแบบเลนส์ใช้งานง่าย แหวนซูมลื่น จับถือถนัด คล่องตัวดี
การโฟกัสอัตโนมัติ เงียบ ไว ไว้ใจได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะย้อนแสง ตามแสง แสงมาก หรือแสงน้อย
น้ำหนัก มากไปหน่อยเมื่อใช้งานนานๆ คู่กับกล้อง D810 ติดกริ๊ปใส่แบตเตอรี่สองก้อน
การให้สี เมื่อย้อนแสงดูอิ่ม และนุ่มนวล แต่ไม่ฟุ้ง
จุดโฟกัส คมชัดไม่มี Shift Front/Back
(ได้เลนส์ใหม่แกะกล่องมา ผมยังไม่ได้จูนโฟกัสเลยนะครับ)
ภาพนอกระยะชัด โบเก้ ฟุ้ง อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
……………………………………………………………………………………………..

Interior และ Landscape
………………………………………………………………………………………
ข้อจำกัดเรื่องเวลาในการส่งมอบเลนส์คืน เพื่อนำไปเป็นเลนส์ Demo ในการเปิดบูธ ที่โฟโต้แฟร์ ปลายเดือน พฤศจิกายน 2015 นี้ ทำให้ผมยังไม่สามารถนำไปใช้ถ่ายงานจริงๆ เพื่อเป็นตัวอย่างในการทดสอบ แบบจริงจัง
แต่ก็ทดลองคร่าวๆ พอให้ได้เห็นประสิทธิภาพ ความคมชัด และการควบคุมดิสทอร์ชั่นของเลนส์ซึ่งต้องเรียกว่า ทำได้ดีมาก

Screen Shot 2015-11-22 at 8.22.51 PM.png
การคุมดิสทอร์ชั่น ทำได้แค่คลิกที่ lens profile ในโปรแกรมแต่งภาพ แค่คลิกเดียวโดยไม่ต้องปรับแต่งเลย

A00_2517-1A00_2515-1A00_2551-1
ภาพที่ถ่ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทั้งหมดนี้ ผมถือถ่ายด้วยมือ โดยไม่ได้ใช้แฟลช และขาตั้งกล้อง

 

A00_2570-1
ถ้าไม่นับเรื่อง noise จากการใช้ iso สูงๆ ก็จะเห็นความคม แม้จะถ่ายด้วยรูรับแสง f3.5 โดยอาศัยเพียงแสงในพื้นที่จัดแสดงศิลปวัตถุ และแสงแดดจากภายนอก ซึ่งน้อยมาก
A00_2618-1
จิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีแสงจากหน้าต่างไกลๆ และแสงไฟจากเพดานบางส่วน ใช้ ISO 12,800 ใช้ช่วงเลนส์ 24mm. ที่ f4.5, Shutter speed 1/50Sec. WB 2876 ไม่มีขาตั้งกล้อง และไม่ได้ใช้แฟลช ซึ่งภาพที่ได้ก็ออกมาคม นำไปใช้งานได้สบายๆ

สำหรับ Landscape ก็เช่นกันที่ยังไม่มีเวลาออกทริปไปทดสอบ ได้เพียงแค่ยกกล้องขึ้นถ่ายขณะเดินผ่านหน้าโบสถ์วัดมกุฏฯ ช่วงเย็น โดยไม่ได้ใช้ขาตั้ง และไม่มีเวลาพิถีพิถันเลือกมุม ซึ่งจากรูปที่เห็น ผมเชื่อว่า หากมีเวลานำไปบันทึกภาพให้ถูกที่ ถูกเวลา เลนส์ตัวนี้ก็สามารถเก็บรายละเอียดทุกอย่างได้ทั้งหมดแน่นอน

A00_2857-1
บน at 24mm. F10 Shutter speed 1/160 ISO125 with D810 VIVID Preset
ล่าง at 24mm. F10 Shutter speed 1/160 ISO160 with D810 VIVID Preset

A00_2862-1

สรุปความเห็น(ส่วนตัว)

ข้อดี
1 เลนส์คมจริง เมื่อเทียบกับเลนส์ค่ายแล้ว Sigma 24-35 f2 ART ตัวนี้คมกว่ามาก
2 รูรับแสงที่ f2 ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นมากเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีแสงน้อย
3 ภาพนอกระยะชัด “สวย” โบเก้ไม่เด่นจนแย่งความสนใจจากวัตถุหลัก แต่ก็มีเนื้อภาพให้เห็นนวลๆตา
4 การคุมดิสทอร์ชั้น ดี
5 วิกเนส ขอบมืด มีพอเห็น แต่ก็แก้ได้ด้วยโปรแกรมง่ายๆ เพียงคลิกเดียว
6 ถ่ายทอดสีได้ดี อิ่ม ไม่ฟุ้ง
7 วัสดุที่ใช้ผลิต ดีมาก
8 การควบคุม วงแหวนต่างๆ นุ่มนวล กระชับ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานถ่ายวิดีโอนั้น ช่วยให้ปรับโฟกัสและเปลี่ยนมุมภาพได้อย่างนุ่มนวล
9 ระบบออโต้โฟกัส ไว เงียบไม่แพ้เลนส์ค่าย

ข้อด้อย
1 ช่วงซูม มีทางยาวโฟกัส สั้นไป จนอึดอัดกับมุมรับภาพในบางครั้งที่ถ่ายสถาปัตยกรรม และแลนด์สเคป
2 หนัก (เพราะคุณภาพวัสดุ)
3 ไม่มีระบบกันสั่น
4 หน้าเลนส์ใหญ่ กว้าง ขนาดฟิลเตอร์ 82mm.
5 ราคาเปิดตัว 34,900 บาท อาจดูว่าสูง แต่ตรงนี้ผมว่า คนที่นิยมเลนส์ไวแสงคมๆนั้น รับได้ และถ่ายเป็นมืออาชีพ น่าจะคืนทุนได้เร็วพอสมควร

ทางบริษัทแจ้งมาว่า ตอนนี้ มีโปรโมชั่น ผ่อน 0% 10เดือน
และน่าจะมีเงื่อนไขดีดี ในงานโฟโต้แฟร์ ปลายปีนี้

ขอขอบคุณ Shriro Marketing (Thailand) Co., Ltd. ผู้อนุเคราะห์เลนส์ในการทดสอบ

พิษณุ โถยอด

Read more "Sigma 24-35 F/2 DG HSM ART : Review"